วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

จุดเปลี่ยนของประเทศ : ประกายแสงแห่งความหวังที่ทุกคนรอคอย

 บทนำ 
           จากอดีตถึงปัจจุบันประเทศไทยนับเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียที่มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่สามารถฉายภาพประวัติศาสตร์ได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่นการเปลี่ยนแปรงระบอบการปกครองจากแบพ่อปกครองลูกมาเป็นการปกครองแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช (แปลแบบไทย ๆ ก็คือ พระราชามีสิทธิ์เต็มรูปแบบในการตัดสินใจ “ด้านปกครอง, ด้านทหาร, ด้านกฎหมาย และด้านถือครองสิทธิ์ต่าง ๆ) หรือที่นักรัฐศาสตร์เรียกว่า “ราชาธิปไตย” และมีพัฒนการมาเรื่อง ๆ จนเริ่มเข้าสู่ยุคประชาธิปไตย โดยการปฏิวัติของคณะราษฎร์ ที่ได้รับแนวคิดสมัยใหม่ที่สังคมตะวันตกให้การยอมรับว่าดีที่สุด นั่นคือ ระบอบประชาธิปไตย การได้มาซึ่งระบอบประชาธิปไตย ก็ไม่ได้มาแบบเรียบง่าย จำเป็นต้องมีผู้เสียสละ ฝ่ายที่ต้องการระบอบใหม่ก็ต้องต่อสู้มากมาย บุคคลสำคัญที่ต้องมีการกล่าวถึงเมื่อมีเหตุการณ์ทางการเมือง คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่รัชกาลที่ ๗ ที่พระองค์ทรงสละพระราชอำนาจมอบคืนให้ประชาชนเป็นใหญ่ นับเป็นความเสียสละครั้งยิ่งใหญ่หน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย ขอนำพระราชประวัติโดยสังเขป คือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ลำดับที่ 7 แห่งราชอาณาจักรสยาม พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 นาฬิกา หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 76 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นปีที่ 9 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ สมเด็จพระพันปีหลวง ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925) และทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (นับศักราชแบบเก่า) (ค.ศ. 1935) รวมดำรงสิริราชสมบัติ 9 ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) รวมพระชนมพรรษา 47 พรรษา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระองค์ทรงสละพระราชอำนาจ โดยมีพระดำรัสว่า 
               
                  “...ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของ ข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดย สิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร...”
 ประชาธิปก ปร. 

         นับแต่นั้นมา ประเทศไทยใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีสามขั้วอำนาจคอยถ่วงดุลกัน คือ 1) ฝ่ายบริหารมีนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเป็นผู้คอยขับเคลื่อนตามนโยบาย 2) ฝ่ายนิติบัญญัติมีสภาสองสภา คือวุฒิสภา (ส.ว.) กับสภาผู้แทนราษฎร์ (ส.ส.) เป็นผู้เสนอร่างกฎหมายต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการบริหารประเทศ และ 3) ฝ่ายตุลาการศาลที่เป็นผู้นำกฎหมายไปใช้เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ 
          ดังนั้น บทความนี้ข้าพเจ้ามุ่งหวังที่จะใช้เป็นเวทีทางความคิด เสนอแนวทางการนำวิถีการเมืองของประเทศไทยให้พ้นจากมรสุมวิกฤติทางการเมือง ซึ่งอาจเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ และสังคมโดยรวมได้ไม่มากน้อย โดยได้แยกเป็นประเด็นเนื้อหาต่าง ๆ ได้ ดังนี้ 

การเมืองไทยเหมือนกระดานหก 
        ประเทศไทย กำลังเดินเข้าไปสู่จุดพลิกผัน อันคล้ายกระดานหก ที่จะกระดกไปสู่ด้านใดด้านหนึ่งอย่างทันทีทันใด ด้านหนึ่ง คือ เกิดมิคสัญญีกลียุค คนไทยฆ่ากันตายเป็นเบือ อีกด้านหนึ่ง คือ โอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยครั้งใหญ่ เพราะวิกฤติสุดๆ ก็เป็นโอกาสสุดๆ ที่จะทำเรื่องยาก ซึ่งตามปรกติทำไม่ได้ ฝ่ายต่างๆ ควรหยุดคิดว่า เหตุปัจจัยอะไร ที่จะทำให้สังคมไทย กระดกไปในทางมิคสัญญีกลียุค และเหตุปัจจัยอะไรที่จะทำ ภาพกระดานหกหลายอันเรียงกัน ให้สังคมไทยพลิกผันในทางเป็นโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศครั้งใหญ่ (หนังสือพิมพ์บ้านเมือง : 2556. พฤศจิกายน 17) จากปฏิกิริยาเร่งสำหรับการบวกสถานการณ์ให้ระอุร้อนยิ่งขึ้น 
          เพื่อนำไปสู่จุดหมายที่มุ่งหวังไว้ให้ได้ ท้ายที่สุดก็เป็นภาวะที่ดำรงอยู่ในขณะนี้ และก็เป็นภาวะที่รอเพียง "เงื่อนไข" และ "เงื่อนเวลา" ที่จะสุกงอมเพียงพอต่อการ "พลิกคว่ำกระดาน" อย่างถึงที่สุด เพื่อนำไปสู่การ "เปลี่ยนแปลงทางการเมือง" อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องเกินเลยจากความเป็นจริงนัก ถ้ามองจาก "บริบทการเมือง" ในห้วงเวลาปัจจุบัน และไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ตามสมมุติฐานของ "ศ.นพ.ประเวศ วะสี" ราษฎรอาวุโส ที่เขียนบทความเผยแพร่ เรื่อง "ประเทศไทย ณ จุดพลิกผัน (Tipping Point)" มีใจความบางตอนว่า "..

            "...ประเทศไทย กำลังเดินเข้าไปสู่จุดพลิกผัน อันคล้ายกระดานหก ที่จะกระดกไปสู่ด้านใดด้านหนึ่งอย่างทันทีทันใด ด้านหนึ่ง คือ เกิดมิคสัญญีกลียุค คนไทยฆ่ากันตายเป็นเบือ อีกด้านหนึ่ง คือ โอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยครั้งใหญ่ เพราะวิกฤติสุดๆ ก็เป็นโอกาสสุดๆ ที่จะทำเรื่องยาก ซึ่งตามปกติทำไม่ได้ ฝ่ายต่างๆ ควรหยุดคิดว่า เหตุปัจจัยอะไรที่จะทำให้สังคมไทย กระดกไปในทางมิคสัญญีกลียุคและเหตุปัจจัยอะไร ที่จะทำให้สังคมไทยพลิกผันในทางเป็นโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยครั้งใหญ่" สังคมไทยกำลังอยู่ในจุดที่ว่านี้จริงๆ และโอกาสของแนวโน้ม ที่จะเดินไปในแนวทางด้านแรก อันว่าด้วย "มิคสัญญีกลียุค" ก็มีสูงอย่างยิ่ง เพราะเวลานี้ เรากำลัง "ไปไม่หยุด ฉุดไม่อยู่ กู่ไม่กลับ.." 

            จากบทความ "ประเทศไทย ณ จุดพลิกผัน (Tipping Point) โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี ที่สะท้อนให้เห็นชัด ถึงปรากฏการณ์ของสังคมการเมืองไทยที่กำลังเดินไปสู่จุดพลิกผัน ด้านหนึ่ง คือ เกิด มิคสัญญีกลียุค ขณะที่อีกด้านหนึ่ง อาจเป็นโอกาสที่จะ เปลี่ยนแปลงประเทศไทยครั้งใหญ่ นี่ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้และไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นไม่ได้ โดยเฉพาะในด้านแรกอาจนำไปสู่ "มิคสัญญีกลียุค" อีกครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย อย่าลืมว่าจนถึงห้วงเวลานี้ ความเคลื่อนไหวที่แสดงให้ประจักษ์ชัดถึง "พลังทางสังคม" ล้วนดำเนินไปอย่าง "สุดปลาย-สุดขั้ว" อีกครั้งหนึ่ง 

 ปมปัญหาที่ก่อให้คลื่นมวลชน 
                 สภาพปัญหา ณ เวลานี้ เราปฏิเสธไม่ได้ว่า ด้านหนึ่ง คือการดำรงคงอยู่ของ "รัฐ" และกลไก "อำนาจรัฐ" ขณะที่อีกด้านหนึ่งคือ การดำรงคงอยู่ของฝ่ายซึ่งยืนอยู่ตรงกันข้ามกับ "รัฐ" และกลไก "อำนาจรัฐ" ทว่า! ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ "พลังมวลชน" ของทั้งสองด้าน คือคนไทยด้วยกันทั้งหมด ปฏิเสธไม่ได้ว่า ณ เวลานี้ มี "ปัจจัยเร่งปฏิกิริยาทางสังคม" ที่ทำให้เกิดการเทไหลรวมกันของ "พลังมวลชน" อย่างไม่หยุดยั้งจากทั้งสองด้าน โดยเฉพาะจากการ "จุดติดเชื้อเพลิง" อันเริ่มต้นจากประเด็น "นิรโทษกรรม" และนำมาสู่การต่อสู้ด้วยประเด็นแหลมคมที่มุ่งประเด็นไปที่เรื่อง "ระบอบทักษิณ" อีกครั้ง ความจริงก็คือสังคมไทยได้ "ย้อนเวลา" กลับไปยืนอยู่ ณ จุดของ "ปัญหาความขัดแย้ง" ดั้งเดิมและแน่นอนว่า "ปัญหาความขัดแย้ง" ที่ว่านี้ ยังประกอบไปด้วยตัวละครเดิม ๆ ที่ได้รับการเปลี่ยน "บทบาทการแสดง" โดยยังมี "เนื้อหาหลัก" เช่นเดิมปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อ "คู่กรณี" กลับมายืนที่จุด "เผชิญหน้า" "สถานการณ์การเมือง" ก็เข้าสู่ห้วงเวลาที่อ่อนไหว และเปราะบางอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับ "เสถียรภาพทางการเมือง" และ "สภาวะไม่นิ่งในทางการเมือง" ที่มีโอกาสสูงในการเดินหน้าสู่ "จุดแตกหัก" อีกครั้ง ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อมีการขึ้นเวทีต่อสู้ก็ย่อมมีฝ่ายที่ชนะได้รับความยกย่อง ชื่นชม ถูกกล่าวขานไปอีกนาน และมีฝ่ายที่ต้องยอมแพ้ พร้อมกับนำความเจ็บใจ ความสูญเสีย กลับกลุ่มของตน ความจริงก็คือ นี่ไม่ใช่แค่ "การต่อสู้" ใน "ระบบ" เพียงอย่างเดียว หากแต่นี่เป็น "การต่อสู้" ที่เดินไปในลักษณะของเวที "คู่ขนาน" ทั้ง "ในระบบ" และทั้ง "นอกระบบ" "รูปธรรม" ที่เห็นได้ชัด สะท้อนผ่าน "ปรากฏการณ์" การ "ระดมมวลชน" ในเชิง "ปริมาณ" ผ่านกลุ่มและเครือข่ายชนิดเต็มรูปแบบพร้อมๆ กับการขยับยกระดับ "มาตรการกดดัน" ในเชิง "สัญลักษณ์" อย่างต่อเนื่อง นี่เป็นกระบวนการ "นอกระบบ" เพื่อ "รอเวลา" ที่ถูกคาดหมายว่า น่าจะมาถึงในเร็ววันนี้ ปรากฏการณ์ในลักษณะนี่เป็นเช่นเดียวกับการ "รอเวลา" สำหรับกระบวนการขับเคลื่อน "ในระบบ"ผ่านกลไกและเครื่องมือทุกชนิดที่มีอยู่ เช่นว่า การยื่นถอดถอน การยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ และการยื่นเรื่องต่อ "ศาล-องค์กรอิสระ" ทั้งหลายเพื่อหวังผลการเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะนำมาสู่ "การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง" อีกครั้งภายใต้ "เงื่อนไข" และ "เงื่อนเวลา" ที่จะมาบรรจบพร้อมกัน อย่าได้แปลกใจที่ "ธงนำ" ในการเคลื่อนไหว จะแสดงความมั่นใจอย่างยิ่งว่า ทั้งหมดจะจบลงได้ ในเร็ว ๆ นี้ 
                อย่าได้แปลกใจที่หลายๆ ฝ่าย จะคาดการณ์ถึงผลการวินิจฉัยของ "ศาลรัฐธรรมนูญ" ในประเด็น "ที่มา ส.ว." ที่จะมีการ "วินิจฉัยชี้ขาด" ในวันที่ 20 พ.ย. 2556 ที่ผ่านมา อาจส่งผลอย่างใดอย่างหนึ่งต่อการ "เปลี่ยนโฉมหน้าการเมืองไทย" อีกครั้ง โดยเฉพาะใน "เงื่อนไข" และ "เงื่อนเวลา" ที่จะมาบรรจบกัน  ความจริงก็คือ ประเทศไทยกำลังเดินเข้าไปสู่ "จุดพลิกผัน" อันคล้าย "กระดานหก" ที่จะกระดกไปสู่ด้านใดด้านหนึ่งอย่างทันทีทันใด คือ "มิคสัญญีกลียุค" และอีกหนึ่งคือ โอกาสที่จะ "เปลี่ยนแปลงประเทศไทย" ปัญหามีเพียงว่า "สถานการณ์เฉพาะหน้า" จะนำ "สังคมไทย" ไปสู่ "จุดหมาย" ใด โดยเฉพาะเมื่อทุกฝ่าย ต่างเร่ง "เงื่อนไข" และ "เงื่อนเวลา" อย่างถึงที่สุดบน "กระดานหก" ที่พร้อมจะกระดกไปสู่ด้านใดด้านหนึ่ง อย่างทันทีทันใด (ศ.นพ ประเวศ วะสี. มติชน ออนไลน์, วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556) 

 ปัจจัยที่นำไปสู่ความรุ่นแรงในการต่อสู้ทางการเมือง 
                 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสของไทย (มติชน ออนไลน์. 15 พฤศจิกายน 2556) ได้กล่าวถึงปัจจัยที่เร่งปฏิกิริยาที่นำไปสู่ความรุนแรงในการต่อสู้ทางการเมืองของประเทศไทยในขณะนี้ คือ 
                1. พลิกผันไปสู่อะไร ประเทศไทยกำลังเดินเข้าไปสู่จุดพลิกผัน อันคล้ายกระดานหก ที่จะกระดกไปสู่ด้านใดด้านหนึ่งอย่างทันทีทันใด ด้านหนึ่ง คือ เกิดมิคสัญญีกลียุค คนไทยฆ่ากันตายเป็นเบือ อีกด้านหนึ่ง คือ โอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยครั้งใหญ่ เพราะวิกฤตสุดๆ ก็เป็นโอกาสสุดๆ ที่จะทำเรื่องยากซึ่งตามปรกติทำไม่ได้ ฝ่ายต่างๆควรหยุดคิดว่าเหตุปัจจัยอะไรที่จะทำให้สังคมไทยกระดกไปในทางมิคสัญญีกลียุค และเหตุปัจจัยอะไรที่จะทำให้สังคมไทยพลิกผันในทางเป็นโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยครั้งใหญ่ 2. เหตุการณ์ประท้วง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม สร้างทุนอันยิ่งใหญ่ให้สังคมไทย 
                2  ประการ ระบอบทักษิณนั้นมีพลังอำนาจมหาศาลอย่างไม่เคยมีใครมีมาก่อนถึงขนาดนี้ ทั้งพลังทางการเมือง พลังทางการเงิน พลังทางมวลชน พลังทางการสื่อสาร พลังติดอาวุธ พลังความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ พลังทางการล็อบบี้ในระดับสากล พลังสนับสนุนจากนักวิชาการที่สำคัญ ๆ บางส่วน ระบอบทักษิณได้ใช้พลังทั้งหมดนี้ต่อสู้กับการถูกรัฐประหารเมื่อ 2549 และต่อสู้กับรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในทางรัฐสภาระบอบทักษิณกุมเสียงข้างมากอย่างเด็ดขาด สามารถออกกฎหมายอะไรก็ได้ แต่เมื่อย่ามใจในอำนาจ เป็น พ.ร.บ. นิรโทษกรรมออกมาอย่างเร่งรีบ รวบรัด ก็ประสบการต่อต้านอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งต้องยอมถอย แสดงให้เห็นว่า แม้มีกำลังมหาศาลเพียงใด ถ้าก้าวผิดพลาดทางยุทธศาสตร์ ก็ทำให้ถดถอยได้ 
               ใคร ๆ ก็ทำผิดพลาดได้ แต่ถ้าผิดพลาดแล้วได้เรียนรู้ก็ถือเป็นกำไร ที่จริงเราเรียนรู้จากความล้มเหลวมากกว่าความสำเร็จ คนขี่จักรยานเป็นเพราะเคยล้มมาก่อนทุกคน การที่แม้มีเสียงข้างมากก็ไม่สามารถทำตามใจชอบทุกอย่าง เป็นบทเรียนที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เฉพาะพรรคเพื่อไทย แต่สำหรับทุกคนทุกฝ่าย บทเรียนนี้มีค่ายิ่งเป็นทุน 
               ประการที่ 1 วัฒนธรรมของสังคมไทย 
               ประการที่ 2 การที่ระบอบทักษิณมีพลังอำนาจมากอย่างไม่มีอะไรจะทัดทานได้ 
               ทำให้เป็นที่วิตกกังวลและหวั่นเกรงกันว่า อำนาจนี้จะนำไปสู่ความผิดพลาดและความเสียหายใหญ่โตแก่ประเทศชาติได้ และรู้สึกหมดหวังไม่รู้จะทำอย่างไร แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งคือ พ.ร.บ. นิรโทษกรรม คนไทยจากภาคส่วนต่าง ๆ ก็ออกมาประท้วงอย่างหลากหลายและเข้มข้นด้วยสันติวิธี จนทำให้รัฐบาลยอมถอย ทำให้สังคมตระหนักรู้ขึ้นมาว่า ไม่ว่าผู้ใช้อำนาจรัฐจะมีอำนาจเพียงใด ถ้าสังคมเข้มแข็ง จะสามารถหยุดยั้งความไม่ถูกต้องได้ (สังคมเข้มแข็งจะเป็นปัจจัยชี้ขาดอนาคตของประเทศ ก็ไม่สู้มีคนเข้าใจ แต่คราวนี้สังคมได้เรียนรู้และลิ้มรสจากการปฏิบัติด้วยตนเอง) 
              เมื่อสังคมได้เรียนรู้แล้วว่า สังคมเข้มแข็งเป็นเครื่องหยุดยั้งความไม่ถูกต้องได้ ประเทศไทยก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว เพราะด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน ไม่เป็นการยากที่สังคมจะรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ เป็นสังคมเข้มแข็งเพื่อความถูกต้องในบ้านเมือง ต่อไปนักการเมืองหรือข้าราชการจะคอร์รัปชั่นได้ยาก เพราะองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นและสังคมเข้มแข็งจะเข้ามาตรวจสอบ นี่เป็นทุนอันยิ่งใหญ่ของสังคมไทยอีกประการหนึ่งที่เกิดขึ้น ปรากฏการณ์ “พฤศจิกามหานกหวีด” เป็นจุดเปลี่ยนประเทศไทย 
               ทุนทั้ง 2 ประการที่เกิดขึ้นคราวนี้มีค่ามาก ควรจะหล่อเลี้ยงให้เติบโตเพื่องานใหญ่ต่อไปในภายภาคหน้า จะเป็นที่น่าเสียดายถ้าทุนนี้ต้องมลายเพราะสังคมพลิกผันไปทางมิคสัญญีกลียุค 
                   3. การคิดเชิงยุทธศาสตร์ สงครามนั้นแพ้ชนะกันอยู่ที่ยุทธศาสตร์กำลังมาก ถ้ายุทธศาสตร์ไม่ดีก็แพ้กำลังน้อยได้ การคิดเชิงยุทธศาสตร์ต้องไม่เอาอารมณ์เป็นตัวตั้ง แต่ต้องใช้ปัญญา พรรคคอมมิวนิสต์ของเหมาเจ๋อตงต่อสู้ขับเคี่ยวกับรัฐบาลก๊กมินตั๋งของเจียงไคเช็ค และเกลียดเจียงไคเช็คสุดประมาณ เพราะเจียงเคยทรยศและไล่ฆ่าพวกคอมมิวนิสต์ตายเป็นจำนวนมาก เมื่อจางโซเหลียงซึ่งเป็นพันธมิตรกับคอมมิวนิสต์จับเจียงไคเช็คได้ที่เมือง ซีอาน แทนที่จะฆ่าเจียงไคเช็คด้วยความโกรธความเกลียด โจวเอินไหลกลับมาปล่อยเจียงด้วยตนเอง เพราะยุทธศาสตร์คือ ให้เจียงไปรวมคนต่อต้านญี่ปุ่นร่วมกัน ผู้ที่กำลังชุมนุมประท้วงรัฐบาลอยู่ขณะนี้จำนวนมาก มีความโกรธความเกลียดบุคคลผู้หนึ่งกับวงศ์ตระกูลของเขาร่วมกันก็ต้องระวังว่าอารมณ์โกรธจะทำให้พลาดเชิงยุทธศาสตร์ สถานการณ์ของการต่อสู้แปรผันได้อย่างฉับพลัน ถ้าเสียความชอบธรรมเมื่อใด ตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์ทันที ดังที่เกิดกับฝ่ายรัฐบาล แต่ก็เกิดกับฝ่ายประท้วงได้ด้วยเช่นเดียวกัน 4. 
                   4.  เป้าหมายและยุทธศาสตร์ใหญ่ประเทศไทยคืออะไร หลายคนพูดถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในประเทศไทย คนไทยเหมือนไก่อยู่ใน “เข่ง” ที่จิกตีกันร่ำไปทั้งๆ ที่จะถูกเชือดหมดทุกตัว “เข่ง” คือ “โครงสร้าง” ที่กักขังไก่ไว้ให้จิกตีกัน ประเทศไทยมีปัญหาโครงสร้างอำนาจ ที่ไม่เป็นธรรม โครงสร้างอำนาจที่ไม่ถูกต้อง ดำรงอยู่ในสังคมไทยมาช้านาน ก่อนมีคุณทักษิณ มีคนเป็นอันมากใช้โครงสร้างที่ไม่เป็นธรรมนี้ เอาเปรียบและทำร้ายผู้อื่น ทำอย่างประณีตบ้างอย่างหยาบบ้าง ทำให้เกิดความยากจนและความอยุติธรรมในสังคม ตลอดจนความขัดแย้งและความรุนแรงต่างๆ วันหนึ่งแม้ไม่มีคุณทักษิณแล้ว หากโครงสร้างอำนาจที่ไม่เป็นธรรมยังดำรงอยู่ ประเทศไทยก็จะไม่หายวิกฤต 
                ฉะนั้น เป้าหมายใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย คือ การเปลี่ยนแปลงหรือปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจทำไม่ได้โดยคนใดคนหนึ่ง หรือรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง แต่โดยพลังพลเมืองที่มีจิตสำนึก รู้เท่าทัน (Informed citizen) และเป็นพลังพลเมืองที่กัมมันตะ (Active citizen) ที่เกิดขึ้นเต็มประเทศ เราได้เห็นตัวอย่างเบาะๆ ของพลังพลเมืองหรือสังคมเข้มแข็งขนาดย่อม ถ้าพลังพลเมืองเกิดขึ้นเต็มประเทศย่อมเป็นพลังมหาศาลที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ความถูกต้อง
                ฉะนั้น ยุทธศาสตร์ใหญ่ประเทศไทยคือการรวมตัวกันสร้างพลังพลเมืองให้เกิดขึ้นเต็มประเทศ ไม่ใช่การไปฆ่าแกงใคร หรือฆ่าแกงกันเองนั่นมันเรื่องของไก่อยู่ใน “เข่ง” ต้องรวมตัวกันออกจาก “เข่ง” หรือโครงสร้างอำนาจอันไม่เป็นธรรม 
                 5. หน้าต่างแห่งโอกาส ตามปรกติหน้าต่างแห่งโอกาสไม่เปิดให้ทำเรื่องดีๆ นานนานจะเกิดสถานการณ์ที่ทำให้หน้าต่างแห่งโอกาสเปิดออกสักทีหนึ่ง แต่จะเปิดช่วงเวลาสั้นๆ แล้วก็กลับปิดลงอีก ช่วงนี้ต้องถือว่าหน้าต่างแห่งโอกาสเปิด ที่รัฐบาลก็ดี สภาผู้แทนราษฎรก็ดี มีอารมณ์ที่จะประนีประนอมสนองตอบต่อสังคมสูง หรือว่าง่าย ดังที่ถอย พ.ร.บ. นิรโทษกรรม อย่างรวดเร็วเมื่อรู้ว่าสังคมไม่พอใจ ในสถานการณ์เช่นนี้ ควรจะเป็นโอกาสรวมตัว ตกลงร่วมกันที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทย โดยปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ และทำงานตามยุทธศาสตร์ใหญ่ประเทศไทย คือ สร้างพลเมืองให้เกิดขึ้นเต็มประเทศ ร่วมกันปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ ร่วมกันสร้างพลังพลเมืองให้เกิดขึ้นเต็มประเทศ สำคัญกว่าและดีกว่าไปตีกันเป็นไหนๆ คนไทยไม่เคยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีแต่วัตถุประสงค์ของบุคคล ของกลุ่ม ของพรรค ขององค์กร ของสถาบัน แตกต่างกันและทอนกำลังใจกันเอง วันใดที่คนไทยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน เช่น ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ และสร้างพลังพลเมือง จะเกิดพลังมหาศาลที่นำไปสู่ความสำเร็จอย่างอัศจรรย์และความสมานฉันท์ 6. 
                  6. ปฏิรูปประเทศไทยคือจุดร่วม ปฏิรูปประเทศไทยคือการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจด้วยพลังพลเมือง รัฐบาลก็พูดการปฏิรูปประเทศไทยพรรคประชาธิปัตย์ก็เคยทำมาก่อนและขณะนี้ก็มีวาระเรื่องปฏิรูปประเทศไทย พธม. ก็ต้องการปฏิรูปประเทศไทย นปช. ก็ต้องการปฏิรูปประเทศไทย สภาประชาชนปฏิรูปประเทศไทยชื่อก็บอก 
                  ฉะนั้น การปฏิรูปประเทศไทยน่าจะเป็นจุดร่วมของทุกฝ่าย และก็เป็นการตรงต่อเป้าหมายและยุทธศาสตร์ใหญ่ประเทศไทยในเรื่องปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ ด้วยการสร้างพลังพลเมือง ทุกฝ่ายน่าจะใช้วิกฤตเป็นโอกาสที่จะพลิกผันไปสู่การร่วมปฏิรูปประเทศไทย “เวทีพัฒนาประเทศไทย” เป็นพื้นที่ที่เป็นกลางเพื่อการร่วมคิดร่วมทำ เป็นกลไกอย่างหนึ่งของการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำเพื่อประเทศไทย เช่นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่าน มีการเชิญนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยตัวแทนฝ่ายรัฐบาล และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน ไปพูดเรื่องปฏิรูปประเทศไทย และมีการเชิญกลุ่มอื่น ๆ ที่เคลื่อนไหวปฏิรูปประเทศไทย เช่น พธม. นปช. สภาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย ไปนำเสนอทัศนะของตน ๆ ถ้าฝ่ายต่าง ๆ จัดให้มีพื้นที่ หรือกลไกของการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำเพื่อประเทศไทยกันให้มาก ๆ ก็จะเป็นการสร้างพลังพลเมือง และถ้าพลังพลเมืองเกิดขึ้นเต็มประเทศก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดความถูกต้องในบ้านเมือง 

ประกายแสงนำประเทศฝ่าวิกฤติปัญหาทางการเมือง 
                 ปี 2557 นี้ คนไทยต้องการอะไรแน่ ประเทศไทยไม่เคยมีความสงบได้เกิน 2 ปี ม็อบเกิดขึ้นแบบดาษดื่น มีทั้งม็อบเล็กม็อบใหญ่ หลากหลายมากมายจนนับครั้งได้ไม่ถ้วน และทุกม็อบล้วนมีสาเหตุแห่งการรวมกลุ่ม มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง ทั้งที่เปิดเผยได้และเปิดเผยไม่ได้ แต่ถ้าศึกษาวิเคราะห์แบบหยั่งลึกแล้วพอจะเข้าใจได้ไม่ยากว่า อะไรคือสาเหตุและอะไรคือเบื้องหลังของการเกิดม็อบนั้น ๆ ปี 2557 น่าจะเป็นปีแห่งความหวังของคนไทยทั้งประเทศ ทุกคนต่างสวดมนต์ภาวนาว่า ฝันร้ายต่างๆ จะผ่านพ้นไป และขอให้ฝันดีเข้ามาแทนที่ ความหวังจะเป็นจริงขึ้นมาได้ คนไทยต้องช่วยกัน และถามตัวเองให้ได้เสียก่อนว่า เราควรทำอย่างไรดี จึงจะช่วยนำพาให้เกิดความสงบเรียบร้อย ในบ้านเมืองและสิ่งร้าย ๆ ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี มีเพียง 2 คำ เท่านั้น ที่ประเทศไทยต้องการมาก ๆ ในปี 2557 นั่นคือ หนึ่งสติ-สัมปชัญญะ และสองความเชื่ออย่างพินิจพิเคราะห์ (หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556) สติ แปลว่า ความระลึกได้ ความนึกขึ้นได้ ความไม่เผลอฉุกคิดขึ้นได้ การคุมจิตไว้ในกิจ ยับยั้งชั่งใจไม่บุ่มบ่าม ผลคือความไม่ประมาท สติ ใช้เพื่อที่จะรู้เท่าทันในสังขาร 3 คือ หนึ่ง รู้เท่าทันในการเคลื่อนไหวในอันที่จะสร้างกรรมใดๆ นั่นคือ ศีล สอง รู้เท่าทันในอารมณ์ที่ปรุงแต่งจิต จนจิตเป็นอิสระจากอารมณ์ นี่คือ สมาธิ สาม รู้เท่าทันความคิดทั้งหลายว่าความคิดเป็นเหตุเป็นผลหรือไม่ นี้คือ ปัญญา สัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้ตัวทั่วพร้อมเป็นธรรมที่คู่กับ “สติ” ตัวอย่างเช่น จะทำจะพูดสิ่งใด ๆ ต้องเหมาะสมกับเวลา สถานที่ ว่าพึงทำ พึงพูดเช่นไร (อนาคต) สติ + สัมปชัญญะ จะทำให้สังคมไทยโดยรวมเป็นสุข ความเชื่ออย่างพินิจพิเคราะห์ ทางศาสนาพุทธ เรียกว่า “กาลามสูตร” เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล พระองค์ให้ไว้เพื่อเป็นหลักแห่งความเชื่อที่ไม่งมงาย มี 10 ประการ คือ ประการที่หนึ่ง คือ อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา ประการที่สอง คือ อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่า เป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา ประการที่สาม คือ อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ ประการที่สี่ คือ อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา ประการที่ห้า คือ อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง ประการที่หก คือ อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา ประการที่เจ็ด คือ อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ ประการที่แปด คือ อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน ประการที่เก้า คือ อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้ ประการสุดท้าย คือ อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา สองคำนี้ที่กล่าวข้างต้น ประเทศไทยต้องการมากเหลือเกิน ณ เวลานี้ ถ้าเกิดขึ้นได้ รับรองว่า เราจะเจริญยิ่งกว่าชาติไหน ๆ และมากกว่าที่เป็นอยู่. 

สรุป 
         การเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมทางการเมืองของไทยในช่วงทศวรรษเศษที่ผ่านมาถือว่าน่าสนใจ จากประเทศที่กอปรด้วยความเชื่อแบบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อฉันทามติทางการเมือง และการปรึกษาหารือของชนชั้นนำอย่างลับ ๆ ตอนนี้ไทยกลับมีวัฒนธรรมใช้ความรุนแรงและเผชิญหน้า ซึ่งไม่แตกต่างไปจากสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในหลาย ๆ ประเทศ การเมืองไทยสะท้อนถึงสิ่งที่ผู้นำไทยปฏิเสธเสมอมา นั่นคือความแตกต่างทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ในภาวะที่ไม่มีฉันทามติ หรือความเห็นพ้องต้องกันแบบประชาธิปไตยในไทย ว่า การเมืองของประเทศควรทำงานกันอย่างไร แต่ไทยยังมีองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเป็นสัญลักษณ์เพียงหนึ่งเดียวแห่งความเป็นเอกภาพในชาติ ประเทศไทยจำเป็นต้องค่อยๆ พัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตย ไทยไม่ใช่สังคมที่แตกร้าวขั้นรุนแรงหรือเผชิญหน้ากันแต่ดั้งแต่เดิม อย่างไรก็ดี การขาดซึ่งผู้นำทางการเมืองที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และมีความชำนาญทางการเมือง มารับมือกับสถานการณ์ขณะนี้ อาจเป็นลางที่ไม่ดีนักสำหรับประเทศไทย ภายหลังปรากฏการณ์ “พฤศจิกมหานกหวีด” ประเทศไทยไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว ผู้คนจะเปลี่ยนพฤติกรรม เพราะเมื่อแสงสว่างแห่งสังคมเข้มแข็งสาดส่อง และเสียงนกหวีดที่พร้อมจะดัง คนก็ไม่กล้าที่จะทำผิด คนไทยทุกฝ่ายควรเห็นการเปลี่ยนแปลงนี้ แล้วหันมามีความจริงใจต่อกัน ร่วมมือกันทำเรื่องดี ๆ ให้ประเทศไทย ให้ความดีเกิดขึ้นในทุกพื้นที่ ให้ชีวิตของคนไทยทุกคนมีศักดิ์ศรี มีความหมาย มีความมั่นคง สังคมมีความสมานฉันท์ ประเทศมีศานติสุข คนไทยสามารถร่วมกันสร้างประเทศไทยให้เป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุดในโลกได้อย่างแน่นอน   

อ้างอิง 
           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7. [ออนไลน์], สืบค้นจาก : th.wikipedia.org/wiki. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2557. 
            กระดานหก. [ออนไลน์], สืบค้นจาก : ‎th.wikipedia.org/wiki. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2557. พจนานุกรม. 
             มิคสัญญียุค. [ออนไลน์], สืบค้นจาก : dictionary.sanook.com/search/dict-th-en-sedthabu. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2556.