วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

หลวงพ่อมุม : เทพเจ้าแห่งชนเผ่าเยอ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ



ประเด็นที่จะนำเสนอ

บริบททั่วไป (ย่อๆ)
         หมู่บ้านปราสาทเยอ ตั้งอยู่หมู่ที่ตำบลปราสาทเยอ  อำเภอไพรบึง  จังหวัดศรีสะเกษ  มีถนนสายหลัก คือทางหลวงหมายเลข 24 กรุงเทพฯเดชอุดมตัดผ่าน ส่วนมากผู้ที่อาศัยอยู่เป็นชาวเยอ  ชาวบ้านจะพูดภาษาเยอเป็นหลัก  ซึ่งมีส่วนคล้ายภาษาส่วยบ้าง  และภาษาลาวอีสาน   ส่วนน้อยที่สามารถพูดภาษาเขมรได้  ถ้าติดต่อราชการจะใช้ภาษาไทยภาคกลาง
                ชาวบ้านมีอาชีพทำนาเป็นหลัก  มีการจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านเพื่อทอผ้าไหม   บางกลุ่มก็ต้มเหล้าขายเป็นธุรกิจชุมชน


สถานที่สำคัญ
         ศาสนสถาน  หมู่บ้านปราสาทเยอมีวัดอยู่ 2 วัด คือวัดเหนือ  วัดใต้  แต่ละวัดมีพระอยู่จำพรรษาไม่ขาด
         สถานศึกษา  ในหมู่บ้านมีโรงเรียนประจำหมู่บ้าน คือโรงเรียนปราสาทเยอ  ติดถนนทางหลวงสาย 24
         โบราณสถาน  มีปราสาทเก่าแก่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่วัดปราสาทเยอเหนือ  ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  สามารถขอพรได้


การเข้าถึงพื้นที่เป้าหมาย
         การเดินทางมาเพื่อทัศนะศึกษา  สามารถเดินทางมาได้ด้วยรถยนต์  ถ้าขับรถมาเองจากกรุงเทพฯ ผ่านทางหลวงสาย 24  เข้าเขตอำเภอไพบึง  แต่ส่วนมากนักท่องเที่ยวจะเดินทางมาเป็นคณะทัวร์  เป้าหมายหลักจะมาเพื่อกราบนมัสการหลวงพ่อมุม  มากกว่าที่จะเที่ยวดูวัฒนธรรมชุมชน




ประวัติหลวงพ่อมุม  อินฺทปญฺโญ



         พระครูประสาธน์ขันธคุณ หรือหลวงพ่อมุม  อินฺทปญฺโญ  ไม่มีประวัติปรากฏเป็นหลักฐานที่แน่ชัดนัก  เพราะท่านได้มรณภาพไปนานแล้ว  ท่านทิ้งไว้แต่ผลงานและเกียรติประวัติไว้ให้ผู้คนได้ชมบารมีของท่านเท่านั้น  แต่จากคำบอกเล่าของชาวบ้านในพื้นที่สามารถสรุปได้ว่า  ท่านเกิดวันที่   30   พฤศจิกายน   2430    โดยเกิดที่บ้านปราสาทเยอนี่เอง เป็นบุตรของนายมากและนางอิ่ม นามสกุล บุญโญ มีพี่น้องร่วมอุทร   5   คน   ท่านเป็นคนสุดท้อง มีรูปหล่อของท่านจารึกว่าถูกสร้างขึ้นอยู่ด้วยคืออายุครบ  90  ปี   4   มี.ค.  2520” หลวงพ่อมุมเป็นเจ้าอาวาทวัดปราสาทเยอเหนือ ท่านเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อเส็ง เจ้าอาวาทวัดปราสาทเยอใต้ หลวงพ่อท่านเป็นชาวเผ่าเยอโดยกำเนิด  ได้บวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 10 ขวบ และอยู่ในสมณะเพศตลอดชีวิตท่าน หลวงพ่อถือปฏิบัติธรรมกรรมฐานเป็นสรณะของท่านได้เคยเดินธุดงค์ทั่วป่าเขาภาค อีสานจนเข้าไปถึงประเทศเขมร หลังจากนั้นท่านกลับไปจำพรรษาที่วัดปราสาทเยอเหนือ

         ท่านมาอยู่ที่วัดปราสาทเยอ แล้วได้ดำรงตำแหน่งเป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนบ้านประอาง เมื่อ พ.ศ. 2459 - 2474  เป็นเวลา  15  ปี
         ท่านได้รับการศึกษาอักษรไทยจากเจ้าอธิการปริม จนอ่านออกเขียนได้ และได้ศึกษามูลกัจจายนะสูตรจนสอบธรรมสนามหลวงได้นักธรรมตรี ใน  และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นครูใหญ่สอนหนังสือไทยในโรงเรียนวัดบ้านปราสาทเยอเหนือคนแรก 
 





         หลวงพ่อมุมท่านเคร่งครัดพระธรรมวินัยมีกิริยาวาจาอ่อนโยนเปี่ยมเมตตา เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของประชาชนทั่วไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถเสด็จทอดกฐินที่วัด ปราสาทเยอร์เหนือเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2514 หลวงพ่อมรณะภาพปี พ.ศ.2522 หลวงพ่อมุมท่านสร้างวัตถุมงคลไว้หลายชนิด โดยเฉพาะเหรียญมีหลายรุ่น เป็นที่นิยมศรัทธาของบรรดาศิษย์โดยเฉพาะทหารนาวิกโยธินอเมริกันในยุคสงคราม เวียตนาม ได้เห็นถึงความขลังของหลวงพ่อเมื่อได้ลองยิงเหรียญแล้วกระสุนยิงไม่ออก จึงได้มาขอขมาหลวงพ่อมุม และขอหลวงพ่อสร้างเหรียญ ปี พ.ศ.2516 มีรูปหลวงพ่อและตัวหนังสือภาษาอังกฤษทั้งหน้าและหลังเหรียญ เรียกว่า เหรียญ PAPAMUM



ปฏิปทาของหลวงพ่อมุม

          จากการสัมภาษณ์เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน พระในวัด และไวยาวัจกรวัด พบว่า  หลวงพ่อมุมมีบทบาทหลายอย่าง เช่น  เป็นครู  เป็นครูเพลง   เป็นหมอรักษาไสยเวทย์   เป็นเทพเจ้าแห่งปราสาทเยอ

 ประโยชน์ที่เกิดขึ้นในชุมชน




สรุป

                  หมู่บ้านปราสาทเยอถือเป็นหมู่บ้านที่น่าสนใจในแง่มานุษวิทยาแนวชาติพันธุ์ที่ยังคงเหลืออยู่ในประเทศไทย คือที่จังหวัดศรีสะเกษ แต่ที่มีข้อสังเกตว่าทำไมคนต่างถิ่นรู้จักหลวงพ่อมุมในแง่อิทธิปาฏิหาริย์มากกว่าความเป็นชาวเยอ  แต่นักวิชาการสนใจความเป็นชาวเยอมากกว่าพระสงฆ์  ชาวเยอจริงๆ กลับมองว่าพระสงฆ์คือตัวแทนของเขา
                 ดังนั้น พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรม   สร้างความสามัคคี  และความสงบสุขในสังคมได้อย่างแท้จริง





                                                    @@@@@@@@@@@@@@@@
 







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น