วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable development)

การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน[1]


บทนำ
การเปลี่ยนแปลงกระแสการพัฒนาของโลกหรือกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) นำ มาซึ่งความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและกลไกการตลาดที่ก่อให้เกิดการเติบโต ขนาดใหญ่การผลิตในเชิงอุตสาหกรรมและการบริโภคที่เกินความจำเป็นจนกระทั่ง เป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืชพรรณธรรมชาติ โดยไม่คำนึงถึงข้อจำกัดด้านกายภาพ ศักยภาพในการผลิตความสามารถที่จะรองรับการบริโภคและการใช้ประโยชน์จากทุน ดั้งเดิม
แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทในกระแสการพัฒนาสังคมโลกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เริ่มตั้งแต่สหประชาชาติจึงได้จัดให้มีการประชุมสุดยอดว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ (Human Environment) ณ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ซึ่งเรียกร้องให้ทั่วโลกคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพและต่อมาในปีพ.ศ. 2526 สหประชาชาติได้จัดตั้งสมัชชาโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (World Commission on Environment and Development) หรือเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “Brundtland Commission” ได้ เรียกร้องให้ชาวโลกเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิตให้ปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อมและ สอดคล้องกับข้อจำกัดของธรรมชาติรวมทั้งได้เสนอว่ามนุษยชาติสามารถที่จะทำให้ เกิด "การพัฒนาที่ยั่งยืน"ขึ้นมาได้
           การพัฒนาที่ยั่งยืนได้รับความสำคัญมากยิ่งขึ้นเมื่อสหประชาชาติได้จัดให้มีการประชุมว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (Un Conference on Environment and Development : UNCED) หรือการประชุม Earth Summit ที่กรุงริโอ เดอจาเนโร ประเทศบราซิล เมื่อปี พ.ศ.2535 ซึ่งผลการประชุมนี้ผู้แทนของ 178 ประเทศรวมทั้งประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองแผนปฏิบัติการ 21 (Agenda 21) ซึ่ง ถือเป็นแผนแม่บทของโลกที่ประเทศสมาชิกต้องตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและ เห็นความสำคัญที่จะร่วมกันพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้เกิดขึ้นในโลกจากแผนปฏิบัติการ 21 ข้างต้นประเทศไทยของเราก็รับเอาเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนมาร่วมดำเนินการด้วยโดยเฉพาะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ซึ่ง นอกจากจะมุ่งเน้น "คน" เป็นศูนย์กลางการพัฒนา เน้นเศรษฐกิจพอเพียง เน้นชุมชนเข้มแข็งและอื่นๆ แล้วยังเน้นด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนอีกด้วย
           จากการพัฒนาประเทศในระยะ 40 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ประเทศไทยได้มีการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ในปี พ.ศ. 2504 ยังไม่เคยมีหน่วยงานใดในประเทศไทยที่คำนึงถึงผลการพัฒนาประเทศที่ผ่านมาว่ามีการพัฒนาอย่างสมดุลใน 2 มิติหรือไม่จนกระทั่ง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) ที่ ได้มีการอัญเชิญปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวฯ มาเป็นปรัชญานำทางในการบริหารและพัฒนาประเทศโดยการส่งเสริมการพัฒนาและ บริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางและให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่มี ดุลยภาพทั้งในการบริหารพัฒนาทั้งคนเศรษฐกิจสังคมที่มีความเกื้อกูลและไม่ เกิดความขัดแย้งซึ่งกันและกันซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างมีคุณภาพ และแข่งขันได้จะต้องคำนึงถึงขีดจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ สามารถสงวนรักษาไว้ใช้ประโยชน์ได้อย่างยาวนานด้วยทั้งนี้เพื่อคงความอุดม สมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติความหลากหลายทางชีวภาพและคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ สามารถเป็นฐานการผลิตของระบบเศรษฐกิจและการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้อย่างต่อ เนื่องตลอดไป
          นัก พัฒนาในยุคปัจจุบันสนใจการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะนักวิชาการ ตะวันตกเองเนื่องจากอดีตได้พัฒนาอย่างผิดพลาดเมื่อมีความตื่นตัวที่จะปรับ ปรุงแก้ไขความผิดพลาดในการพัฒนาในอดีตเป็นแนวทางใหม่ที่เรียกว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่ง ชาวตะวันตกเองก็ยังไม่เข้าใจแน่ชัดแจ่มแจ้งว่าจะพัฒนาในรูปแบบใดพระธรรมปิฎก กล่าวถึงความเป็นมาของสังคมตะวันตกและประเทศไทยในอดีตพร้อมทั้งชี้ให้เห็น ข้อบกพร่องในการพัฒนาทั้งระบบและท่านได้เสนอแนวคิดใหม่ซึ่งขณะนี้องค์กรหลัก สององค์กร คือ องค์การสหประชาชาติและกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมโลกกำลังนำแนวคิดนี้มาใช้แต่ยัง คงเป็นรูปแบบที่ยังคงขาดความบูรณ์การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นท่านเองก็เป็นนัก คิดคนหนึ่งที่ได้นำเสนอแนวทางที่องค์กรได้ปฏิบัติอยู่ผนวกกับแนวทางการพัฒนา แบบพุทธซึ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นหลักภูมิปัญญาอันละเอียดลึกซึ่งของท่านนั้นก็ เป็นประโยชน์ต่อชาวโลกอย่างมากมายมหาศาลก็ว่าได้
          หลัก จากการประชุมที่กล่าวแล้วข้างต้นที่เมืองบราซิลประเทศไทยก็ได้กำหนด ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาประเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นผลให้ประเทศ ไทยได้นำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้วิสัยทัศน์สำหรับการพัฒนาในอีก 20 ปี ข้างหน้า ซึ่งจุดเน้นในการแก้ไขปัญหาความยากจนและยกระดับชีวิตของคนส่วนใหญ่ให้เกิด การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักการในการทำงาน เพื่อให้เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารจัดการประเทศที่มุ่งสู่ ประสิทธิภาพและคุณภาพให้สามารถก้าวทันโลก ในรูปของเศรษฐกิจที่มีความสมดุลพอประมาณอย่างมีเหตุผล สร้างภูมิคุ้มกัน ก้าวทันโลก เสริมสร้างจิตใจให้คนมีคุณธรรมและมีความซื่อสัตย์สุจริตซึ่งเป็นหลักที่พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้พัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนมาโดยตลอดในรูป แบบการพัฒนาการเกษตรที่เรียกว่าทฤษฎีใหม่เพื่อรับกับผลกระทบวิกฤติระยะสั้น และผ่อนคลายปัญหาในระยะยาวได้

ความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน
          การพัฒนาที่ยั่งยืน  เป็น ขบวนการสร้างความเที่ยงธรรมความมีประสิทธิภาพและโครงสร้างที่มีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งด้านต่างๆให้กับชุมชนและภูมิภาคโดยรอบ  (ปกรณ์เทพ พจี.  2549 : 16-17)

การพัฒนาที่ยั่งยืน หมาย ถึง การพัฒนาที่สนองตอบความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบันโดยไม่กระทบกระเทือนความ สามารถของคนรุ่นต่อไปในการที่จะสนองตอบความต้องการของเขาเอง (พระธรรมปิฏก.  2539 : 25)
         
          การพัฒนาแบบยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาที่ตรงกับความต้องการตามความจำเป็นในปัจจุบันโดยสามารถรองรับความ ต้องการหรือความจำเป็นที่จะเกิดแก่ชนรุ่นหลังๆ ด้วยทั้งนี้มาตรฐานการครองชีพที่เลยขีดความจำเป็นชั้นพื้นฐานต่ำสุดจะ ยั่งยืนต่อเมื่อมาตรฐานการบริโภคในทุกหนทุกแห่งคำนึงถึงความยั่งยืนในระยะ ยาว (Long-term Sustainability) รวมถึงครอบคลุมมาตรการการรักษามรดกทางทรัพยากรที่จะตกกับคนรุ่นหลังโดยอย่าง น้อยให้มากๆ พอกับชนรุ่นปัจจุบันที่ได้รับมาและเป็นการพัฒนาที่กระจายประโยชน์ของความ ก้าวหน้าเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึง ตลอดจนเป็นการพัฒนาที่ปกป้องสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับโลก โดยรวมเพื่อชนรุ่นหลังและเป็นการพัฒนาที่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างแท้ จริง (เกื้อ วงศ์บุญสิน.  2538 : 71-72)

          การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) หมายถึง การพัฒนาที่ตอบสนองต่อความต้องการของคนในรุ่มปัจจุบันโดยไม่ทำให้คนในรุ่น อนาคตต้องประนีประนอมยอมลดทอนความสามารถในการที่จะตอบสนองความต้องการของตน เอง
          “Sustainable Development is development that meets to needs of the present without compromising the ability of the future generations to meet their own needs”  (WCED.  1987)

          การพัฒนาอย่างยั่งยืน  คือ  การ อนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรอย่างพอดี เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ใช้ต่อไปได้ ในระยะยาวและมีการกระจายผลประโยชน์ให้แก่คนส่วนใหญ่ รวมทั้งความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างผู้เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย  (ไพฑูรย์  พงศะบุตร.  2544 : 21)

          การพัฒนาที่ยั่งยืน  คือ รูปแบบการพัฒนาที่คอยตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในปัจจุบันโดยไม่มีข้อผ่าน ปรนใดๆ กับความต้องการที่จำเป็นที่คอยตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในอนาคตด้วย (คณะกรรมาธิการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ.  2546 : 34)

          การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการ พัฒนาที่ตอบสนองความต้องการในปัจจุบันโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติหรือสร้าง ความลำบากใจให้กับประชาชนในอนาคต การพัฒนาที่ยั่งยืนเช่นนี้มีลักษณะเป็นการพัฒนาที่บูรณาการ (Integrated) คือทำให้เป็นองค์รวม (Holistic) โดยองค์ประกอบทั้งหลายต้องทำงานประสานกันครบองค์อย่างมีดุลยภาพ (Balanced)  (UN : Commission on Environment and Development)
การพัฒนาที่ยั่งยืนจากบทความข้างต้นก็มีการพูดถึงคำจำกัดความไว้หลายประการ เริ่มต้นบอกว่า "การพัฒนาที่ยั่งยืน" ภาษาอังกฤษเรียกว่า Sustainable Development โดยสมัชชาโลกจาก World Commission on Environment  (2526) ซึ่งเสนอแนะว่า "การ พัฒนาที่ยั่งยืน คือ รูปแบบของการพัฒนาที่ตอบสนองต่อความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบันโดยไม่ทำให้ คนรุ่นต่อไปในอนาคตต้องประนีประนอมยอมลดทอนความสามารถในการที่จะตอบสนองความ ต้องการของตนเอง"
ประเทศ ไทยได้มีนักวิชาการหลายท่านพยายามอธิบายแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ ชัดเจนยิ่งขึ้น ที่สำคัญคือ แนวคิดของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต, 2541) ได้อธิบายการพัฒนาที่ยั่งยืนว่า "การพัฒนาที่ยั่งยืนมีลักษณะที่เป็นบูรณาการ (Integrated) คือทำให้เกิดเป็นองค์รวม (Holistic) หมายความว่าองค์ประกอบทั้งหลายที่เกี่ยวข้องจะต้องมาประสานกันครบองค์และมีลักษณะอีกอย่างหนึ่ง คือ มีดุลยภาพ (Balance) หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือการทำให้กิจกรรมของมนุษย์สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ"
            การ จัดทำข้อเสนอของประเทศไทยในการประชุมสุดยอดของโลกว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน ณ นคร โจฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้เมื่อเดือนกันยายน 2545 คณะอนุกรรมการกำกับการอนุวัตตามแผนปฏิบัติการ 21 และการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้หาข้อยุติด้านคำนิยามของการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยให้ความหมายว่าการ พัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทยเป็นการพัฒนาที่ต้องคำนึงถึงความเป็นองค์รวมของ ทุกๆ ด้านอย่างสมดุลบนพื้นฐานของทรัพยากรธรรมชาติภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยด้วยการ มีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่มด้วยความเอื้ออาทรเคารพซึ่งกันและกัน เพื่อสามารถในการพึ่งตนเองและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเท่าเทียมกัน"
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไม่ได้ให้คำจำกัดความแต่ให้คำอธิบายน่าสนใจ ว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นคุณสมบัติเบื้องต้นของการพัฒนาถ้าจะแข่งขันเหมือน วิ่งผลัดซึ่งตามหลักคนหนึ่งต้องส่งไม้ให้กับคนหนึ่งแต่การพัฒนาแบบยั่งยืน อาจไม่ต้องรอส่งไม้ให้กันและกันแต่ให้วิ่งควบคู่กันไปเพื่อชัยชนะสูงสุด ที่สำคัญต้องมี Bench mark หรือจุดเป้าหมายที่ต้องการแล้ววิ่งไปสู่เป้าหมายนั้น

Bench mark แปล ว่า "รอยสลักบนเครื่องจักร เพื่อเป็นเครื่องหมาย หมุดรังวัด" แต่นักวิชาการมักแปลว่า "แข่งดี" หมายความว่าถ้าหากเราจะก้าวไปสู่ความสำเร็จเราต้องตั้งเป้าใครสักคนหรือสัก บริษัทที่เราคิดว่าเขาทำดีไว้เป็นตัวแบบแล้วเราก็พัฒนาตัวเองไปให้ถึงตัวแบบ นั้นนายกรัฐมนตรีคงหมายถึงเป้าหมายการพัฒนาแต่ละเรื่องว่าหากเราต้องการ พัฒนาอย่างยั่งยืนเราต้องตั้งเป้าเช่นจะพัฒนาด้านเศรษฐกิจจะทำให้คนจนหมดไป ใน 6 ปี เป็นต้นอย่างไรก็ตามนายกทักษิณบอกว่า Bench mark นี้เหมือนตัวดัชนีชี้วัด "Indicator" ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเช่นปริมาณน้ำฝน เมื่อปลายปีก่อนกับวันนี้ปริมาณแตกต่างกันมากความเปลี่ยนแปลงใน bench mark จึง ต้องมีตัววัดการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความเป็นนามธรรมสูงจึงต้องมีคำจำกัดความ แต่ละตัวว่าถ้าถึงจุดพอใจแล้วเพราะมีความเชื่อมโยงหลายข้อมูลเราจะใช้ บูรณาการ "Integrated" ตลอดเวลาโดยต้องคำนึงว่าถ้าใส่อย่างไรเข้าจะมีผลอย่างไร ตัวชี้วัดต้องคิดระบบนี้หรือนโยบายอย่างไรไม่ทำจะเกิดผลอย่างไรเรียกว่าทุกอย่างต้องพิสูจน์ได้เป็น "วิทยาศาสตร์" มิใช่ด้วย "ความรู้สึก"
การ พัฒนาที่ยั่งยืนเป็นการพัฒนาที่ครบทุกด้าน แต่เน้นด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากเป็นพิเศษ มีการตั้งเป้าว่าจะพัฒนาถึงจุดไหน แล้วก็พยายามพัฒนาปรับปรุงจุดนั้นให้ดีขึ้นเรื่อยๆ อย่าให้มีตกเหมือนคติพจน์ที่ว่า "ในโลกนี้ไม่มีอะไรดีที่สุดมีแต่จะดีเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ"
การพัฒนาที่ยั่งยืนรวมความถึง 3 ด้าน คือเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมซึ่งเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันโครงการพัฒนาใดๆ ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้ง 3 ด้าน นี้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นอะไรที่ไกลกว่าเพียงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็น การเปลี่ยนโครงสร้างระบบเศรษฐกิจและสังคมเพื่อลดการบริโภคทรัพยากรและสิ่ง แวดล้อมลงไปในระดับที่ยังรักษาความสมดุลที่ดีทำให้คนอยู่ร่วมกับธรรมชาติโดย ไม่ทำลายล้างอย่างที่ผ่านมาและยังทำกันอยู่หลายแห่งให้อยู่ร่วมกันเป็นชุมชน อยู่ดีกินดีและอยู่เย็นเป็นสุข (สุทธิดา ศิริบุญหลง.  2554 : 22-25) 
“...ประเทศ ไทยยืนยงอยู่ได้อย่างมีอิสรเสรี ไม่ต้องพึ่งพาใครก็เพราะพืชพันธุ์ธัญญาหารที่เรามีและผู้ที่ทำให้เรายืนอยู่ ได้อย่างเข้มแข็ง คือ ชาวบ้านคนไทยที่ภูมิใจในการทำไร่นานั่นเอง…”  
"การพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญยิ่งขึ้นไปนั้นย่อมต้องพัฒนาบุคคลก่อน เพราะถ้าบุคคลอันเป็น
องค์ ประกอบของส่วนรวมไม่ได้รับการพัฒนาแล้วส่วนรวมจะเจริญและมั่นคงได้ยากยิ่ง การที่บุคคลจะพัฒนาได้ก็ด้วยปัจจัยประการเดียว คือ การศึกษา การศึกษานั้นแบ่งเป็นสองส่วนคือ การศึกษาวิชาการ (Academic Learning) ส่วนหนึ่งกับการอบรมบ่มนิสัย (Spiritual Development) ให้ เป็นผู้มีจิตใจใฝ่ดีใฝ่เจริญ มีปกติ ละอายชั่วกลัวบาปส่วนหนึ่งการพัฒนาบุคคลจะต้องพัฒนาให้ครบถ้วนทั้งสองส่วน เพื่อให้บุคคลได้มีความรู้ไว้ใช้ประกอบการและมีความดีไว้เกื้อหนุนการ ประพฤติปฏิบัติทุกอย่างให้เป็นไปในทางที่ถูกที่ควร และอำนวยผลเป็นประโยชน์ที่พึงประสงค์" (พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่ผู้นำเยาวชนและเจ้าหน้าที่ ณ สำนักจิตรลดารโหฐาน 14 ตุลาคม 2512)

แนวคิดหรือหลักการของการพัฒนาที่ยั่งยืน
          1.  ตามแนวคิดของท่าน (ประยุทธ ประยุตโต. 2543) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาคนและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน  
          แนว คิดที่ว่าได้แก่การปลูกฝังความรัก ความหวงแหนในสภาพแวดล้อมท้องถิ่นตนช่วยให้ทุกคนมีความรับผิดชอบและมีส่วน ร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมโดยเริ่มจากบ้านโรงเรียนและชุมชนการสร้าง จิตสำนึกและคุณธรรมในการดำเนินชีวิตให้อุปโภคบริโภคอย่างเหมาะสมมีความพอดี และพอเพียงตามความต้องการ
          แนวคิดในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
          ความ รู้ความเข้าใจในสภาพแวดล้อมที่สัมพันธ์กันทั้งระบบจนพัฒนาควบคู่ก้าวหน้าทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมได้โดยไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัดและใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมเป็นการพัฒนา และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน
          การ พัฒนาที่สมบูรณ์แบบนั้นท่านได้เสนอแนวทางที่องค์กรได้ปฏิบัติอยู่ผนวกเข้า กับแนวทางการพัฒนาแบบพุทธ ซึ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นหลักจากภูมิปัญญาอันละเอียดลึกซึ้งของท่านถือเป็น คุณูปการแก่ชาวโลกในปัจจุบันและอนาคตด้วย  การ พัฒนาที่ยั่งยืนเป็นระบบที่เอื้อต่อความยั่งยืนทางสภาพแวดล้อมกล่าวคือระบบ ดังกล่าวประชากรมีขนาดคงที่และสมดุลกับการเกื้อหนุนของธรรมชาติมีระบบการ ผลิตพลังงานที่ไม่ส่งผลต่อผลกระทบสร้างความเสียหายต่อสภาพภูมิอากาศโลก มีระดับความต้องการการดำรงชีพในระดับที่ไม่เกินกำลังการผลิตที่ยั่งยืนของ ระบบนิเวศรวมทั้งไม่ก่อให้เกิดการทำลายล้างสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่เป็นเพื่อนร่วมโลกของเรา
          การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นคำที่รู้จักกันดีและใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบันนี้  แต่ น้อยนักที่เข้าใจความหมายอย่างแท้จริง รัฐบาลนานาประเทศและหน่วยงานพัฒนาระดับนานาชาติต่างยังคงมุ่งเน้นการประเมิน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโครงการพัฒนาต่างๆ แทนที่จะมามองกรอบยุทธวิธีการพัฒนาอันจะนำมาซึ่งระบบเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิด สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนนับเป็นการท้าทายอย่างยิ่งที่จะก้าวไปให้ได้ไกลแต่ ปัญหาที่ว่าปัญหาด้านเศรษฐศาสตร์และสิ่งแวดล้อมเป็นคนละเรื่องหรือประเด็น เพราะว่าความเป็นจริงปัญหาสิ่งแวดล้อมก็เชื่อมโยงกับปัญหาอื่นๆ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปด้านแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์และสังคมเสีย ใหม่ เพื่อให้เป็นแนวทางที่เอื้อต่อการพัฒนาที่คำนึงการอยู่ดีกินดีของมนุษย์ควบ คู่กับการดำรงอยู่ของสภาพแวดล้อมที่สมดุลหรืออีกนัยหนึ่งสามารถกล่าวได้ว่า เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นเอง
          การพัฒนาที่ยั่งยืน (Mille .Tyler. 2543)
1.       พื้นฐานแนวคิดทางนิเวศวิทยาและระบบนิเวศ
2.       ขอบเขตและความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน
3.       แนวคิดที่ตจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ปรัชญาหรืออุดมการณ์ในการพัฒนาจะต้องอยู่บนพื้นฐานหลักที่ว่าความยุติธรรมระหว่าง 2
ยุค หรือแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนมุมมองมนุษย์จะต้องปรับเปลี่ยนให้เปิดกว้างยอม รับความจริงกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่จะติดตามมากับการกระทำของตนมนุษย์จะ ต้องประสานแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และจริยศาสตร์เข้าด้วยกันเพื่อสร้างข้อกำหนดทั่วไปขึ้นโดยเริ่ม จากปูพื้นฐานด้านนิเวศวิทยาและระบบนิเวศสร้างความเข้าใจถึงปฏิสัมพันธ์ใน ระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกันเองและปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ต่อจากนั้นก็ชี้เห็นถึงหลักการถ่ายทอดพลังงานหรือสสารวัฏรจักรของสสารการให้ สสารหรือพลังงานหมุนเวียนในระบบนิเวศก็จะสร้างให้เกิดความคิดรวบยอดขึ้น ในระบบความคิดรวบยอดนี้เองทำให้พร้อมที่จะนำไปเชื่อมโยงกับประสบการณ์ต่างๆ เพื่อให้การดำเนินการพัฒนายั่งยืน ประสบผลสำเร็จตามความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยทั่วไปหมายถึงการพัฒนาให้ บรรลุถึงความต้องการของมนุษยชาติในปัจจุบันโดยเฉพาะคนจนในขณะเดียวกันก็ไม่ ลดทอนหรือบังเบียดที่จะบรรลุความต้องการของมนุษย์ในรุ่นต่อไปด้วย ซึ่งนักนิเวศวิทยามีความเห็นว่ามนุษย์จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีทาง แห่งการดำเนินชีวิตของตนในปัจจุบันใหม่ปรับโลกทัศน์ใหม่และค่านิยมระยะสั้นๆ ให้มองยาวๆ และเน้นที่ประโยชน์ของโลกธรรมชาติเป็นเกณฑ์ในการพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องผสม ผสานแนวคิดหรือพยายาม ให้อยู่ในกรอบแนวคิดของเศรษฐศาสตร์ นิเวศวิทยา และสังคมวิทยา เพราะว่าการประสานหลักการทั้งสามเข้าด้วยกันเป็นหลักปฏิบัติการพัฒนาจะช่วย ให้แนวทางหรือทิศทางการพัฒนาเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือมุ่งไปสู่จุดหมายไป สู่อันหนึ่งอันเดียวกันอย่างสมบูรณ์ การเขียนแนวคิดที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของนิเวศวิทยาแต่ละท่านอาจจะแตก ต่างกันแต่หัวข้อปลีกย่อยหรือประเด็นหลักๆ ในการเขียนที่ Miller G.Tyler ได้ เขียนหรือแสดงออกมานั้นย้ำให้มนุษย์เห็นว่าการประสานหลักการทางวิทยาศาสตร์ จริยธรรมสิ่งแวดล้อม และแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับกับทรัพยากรธรรมชาติอย่างผสมผสานเป็นรูปธรรมจะทำ ให้มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมอยู่ควบคู่กันโดยสันติสุข สงบและยั่งยืน

          2.  การพัฒนาที่ยั่งยืนจะแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยได้แก่ (พระภิธรรมปิฎก.  2539 : 65)
1.       เป็นการพัฒนาคนเป็นแกนกลางของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมุ่งเน้นแก้ปัญหาความ
ยาก จนการพัฒนาต้องสามารถตอบสนองในปัจจุบันขั้นพื้นฐานได้อย่างพอเพียงทั้งด้าน การศึกษา สุขภาพอนามัยที่อยู่อาศัยและฐานะความเป็นอยู่ที่ดีรวมทั้งมาตรการนโยบาย ประชากรที่เหมาะสม
2.       ธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม ด้วยการพิทักษ์รักษาบำรุง ช่วยสภาพธรรมชาติและใช้
ทรัพยากร อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพแต่การพัฒนาจะสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยการพัฒนา จริยธรรมทั้งในระดับบุคคลและระดับชาติ (จริยธรรมที่แท้ต้องสามารถทำให้มนุษย์มีความสุขจึงจะเกิดการพัฒนาที่ ยั่งยืน) การพัฒนาด้านการศึกษานับว่าเป็นองค์ประกอบแรก ที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาด้านอื่นๆ ต่อไปอย่างน้อยทำให้คนรู้เท่าทันปัญหาที่เกิดขึ้นและที่สำคัญต้องมีการประนี ประนอม คือ ยอมลดละความต้องการของตนเองเพื่อให้แต่ละฝ่ายได้ประโยชน์บ้างหลักการเหล่า นี้เองจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้


          เป็นแนวคิดที่อยู่บนพื้นฐานของหลักการที่เรียกว่า ความยุติธรรมระหว่างสองรุ่น” (Integration Equity) กล่าวคือการพัฒนาแบบยั่งยืนสามารถครอบคลุมสองลักษณะได้แก่ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.  2554: 11)    
ลักษณะแรก เน้นเรื่องการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบมีขีดจำกัดโดยมุ่งเน้นวิธีของ ประชาชนที่มีเศรษฐกิจพอเพียง สามารถอยู่ได้ท่ามกลางกระแสวิกฤติหรือเศรษฐกิจที่ปั่นป่วนโดยวิธีการแรก คือ เน้นหลักความพอดีและการตอบสนองต่อความจำเป็นพื้นฐานเท่าที่จำเป็น
          ประการที่สอง เน้นเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติหรือทรัพยากรธรรมชาติเพราะว่าธรรมชาติไม่ได้ มีไว้เพื่อให้มนุษย์นำไปใช้อย่างฟุ่มเฟือยและล้างผลาญ วิธีของการรักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรหรือการใช้สอยให้คุ้นค่าและได้ใช้น้อยลง อย่างไรก็ตามประเด็นนี้กำลังเป็นที่น่าสนใจของมวลหมู่ธรรมชาติเพราะว่าความ สัมพันธ์กับประชากรการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การเพิ่มประชากรและความทางเทคโนโลยีขาดความสมดุลอย่างไรก็ตามวิธีการพัฒนา แบบยั่งยืนควรจะสามารถทำได้อย่างน้อยสามด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและด้านนิเวศวิทยา
3.  หลัก การพัฒนาแบบยั่งยืนเป็นการพัฒนาที่มุ่งเน้นการสร้างสมดุลในสามมิติดังที่จะ ได้กล่าวต่อไปนี้เนื่องจากทุกด้านล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์และเกี่ยวเนื่อง กันดังนี้ (มหาวิทยาลัยขอนแก่น.  2554 : 55)
          1. มิติการพัฒนาด้านสังคม หมายถึง การพัฒนาคนและสังคมให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลโดยพัฒนาคนไทยให้มีผลิตภาพสูง ขึ้นปรับตัวรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงมีสำนึกและวิถีชีวิตที่เกื้อกูลต่อ ธรรมชาติ มีสิทธิและโอกาสที่จะได้รับการจัดสรรและผลประโยชน์ด้านการพัฒนาและคุ้ม ครองอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมและพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคง มีระบบการจัดการทางสังคมที่สร้างการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายรวมทั้งมีทุนทาง สังคมที่อยู่หลากหลายมาใช้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีคุณภาพมีการเรียนรู้ตลอดชีวิตและมีความ สมานฉันท์เอื้ออาทร
          2. มิติการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่องในระยะยาวและเป็นการขยายตัวทาง เศรษฐกิจที่มีคุณภาพ การพัฒนาทางเศรษฐกิจจะต้องเป็นไปอย่างสมดุลและเอื้อต่อประโยชน์ต่อคนส่วน ใหญ่เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีความสามารถในการแข่งขันและการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจนั้นจะต้องนำมาจากกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีสะอาด ลดปริมาณของเสีย ไม่ทำลายสภาพแวดล้อมไม่สร้างมลพิษที่จะกลายมาเป็นต้นทุนทางการผลิตในระยะต่อ ไปรวมทั้งเป็นข้อจำกัดของการเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
          3. มิติการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม หมาย ถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในขอบเขตที่คงไว้ซึ่งความหลากหลายทาง ชีวภาพและสามารถพลิกฟื้นให้กลับสู่สภาพใกล้เคียงกับสภาพเดิมให้มากที่สุด เพื่อให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาสและมีปัจจัยในการดำรงชีพ ซึ่งจะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมุ่งการจัดการให้เกิด สมดุลระหว่างการใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างเกื้อกูลรวมถึงการชะลอการใช้และ นำเทคโนโลยีสะอาดมาใช้ให้มากที่สุด



          4.  อาจกล่าวได้ว่าแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีลักษณะที่สำคัญได้แก่ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.  2545 : )
1.       คำนึงถึงขีดจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสนองความต้องการใน
ปัจจุบันโดยไม่ส่งผลต่อความต้องการในอนาคต
2.       คำนึงถึงความเป็นองค์รวม คือ มองว่าจะกระทำสิ่งใดต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดกับ
สิ่งอื่นๆ
3.       คำนึงถึงเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ว่าควรเป็นไปในทางสร้างสรรค์และเอื้อประโยชน์อย่าง
สอดคล้องและเหมาะสมกลับสภาพท้องถิ่น
ในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการพัฒนาเพื่อมุ่งไปสู่ความยั่งยืนของประเทศไทยนั้นได้มีการกำหนดเป้าประสงค์ของการพัฒนา 4 ประการด้วยกัน ได้แก่ (กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานจังหวัดปทุมธานี)
1)  คุณภาพ : สังคมไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นสังคมฐานความรู้ มีการพัฒนาศักยภาพและการศึกษาได้ด้วยตนเอง มีการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพตามศักยภาพการผลิตในประเทศ โดยเน้นความได้เปรียบเชิงแข่งขันควบคู่กับผลิตภาพ (productivity) เพิ่มผลผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และลดมลพิษในเชิงป้องกัน
           2)  เสถียรภาพ และการปรับตัว: เศรษฐกิจเกิดการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพทั้งระดับภายในและภายนอกประเทศ มีการสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมจากปัจจัยสนับสนุนภายใน โดยคำนึงขีดจำกัดและความสามารถในการรองรับของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวด ล้อม ด้วยการพัฒนาและการบริหารจัดการเศรษฐกิจระดับฐานรากอย่างครบวงจร โดยมีสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลาย มีการธำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์อันเป็นมรดกดีงามของชาติ
             3)  การ กระจายการพัฒนาอย่างเป็นธรรม: ประชากรมีสร้างความเท่าเทียมทั้งด้านเพศอาชีพรายได้ การศึกษา ความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีพ และบริการพื้นฐานทางสังคม มีโอกาสในการเข้าถึงตลาดและการจัดสรรฐานทรัพยากรอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมโดย คำนึงถึงความต้องการของคนรุ่นปัจจุบันและสงวนรักษาทรัพยากรให้คนรุ่นอนาคต
  4)  การ มีระบบบริหารจัดการที่ประชากรทุกภาคส่วนของสังคม มีโอกาสและสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร กระบวนการตัดสินใจ และนโยบายสาธารณะแก่ประชาชน โดยผ่านการบริหารจัดการ การส่งเสริมและกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและการสร้างความร่วมมือแบบบูรณาการของ สถาบันการเมือง สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง

การประยุกต์ใช้แนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืน
หลัก การได้นำมาปรับใช้กับการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมีจุดสำคัญอยู่ที่การ ดูแลทรัพยากรการท่องเที่ยวให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้ในระยะเวลานาน มิใช่เพียงเพื่อคนรุ่นปัจจุบันเท่านั้นรวมถึงการลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้น เปลืองและลดปริมาณของเสียที่จะเป็นอันตรายแก่สิ่งแวดล้อมมีการกระจายรายได้ และผลประโยชน์ให้แก่คนในท้องถิ่นที่มีแหล่งท่องเที่ยวตั้งอยู่เปิดโอกาสให้ คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการ การให้บริการแก่นักท่องเที่ยว รวมถึงให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการวางแผนจัดสรรงบประมาณและจัดการ ทรัพยากรอย่างเหมาะสม มีการสร้างเครือข่ายเพื่อเผยแพร่แนวคิดความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวอย่าง ยั่งยืน (สิน  สุโรบล.  2546 : 52)
จนในปี พ.ศ. 2545 องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้เป็นปีสากลว่าด้วยเรื่องการ
ท่อง เที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมและธุรกิจในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้เอื้อ ประโยชน์กับชุมชนน้อยมาก ในทางตรงข้ามชุมชนเองก็ได้รับผลเสียจากการท่องเที่ยวโดยตรง เช่น การสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม เนื่องจากชุมชนไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการท่องเที่ยวนั้นเอง
          แนว ทางการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนนี้ได้ให้ความสำคัญกับชุมชนท้องถิ่นได้ มีการ่วมกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวและการบริหารจัดการรวมถึงการกระจายรายได้ สู่ท้องถิ่นอย่างเป็นธรรมเพราะว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ชุมชนท้องถิ่นเป็นผู้บริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ของตนเองโดยกระบวนการ เรียนรู้ เช่นเดียวกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งได้มีนักวิชาการได้กล่าวว่าการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้พัฒนามาจากแนวคิด เรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศหรือการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สอดคล้องกับ กระแสการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลกเมื่อครั้งมีการประชุมสุดยอดสิ่งแวดล้อมโลก ณ กรุงจานิโร ประเทศบราซิล อันมีผลก่อให้เกิดกระแสการพัฒนา 3 ประการได้แก่
1.       กระแสความต้องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
2.       กระแสที่ต้องการท่องเที่ยวที่เน้นศึกษาและเรียนรู้
3.       กระแสความต้องการพัฒนาคน
แนวคิดของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกิดขึ้นจากการตอบโจทย์คำถามที่ว่าการท่องเที่ยว
จะ(พจนา  สวนศรี. 2546 : 12-13) ก่อ ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนได้อย่างไรมิได้มองว่าชุมชนจะได้ประโยชน์ อะไรจากการท่องเที่ยว ซึ่งโดยหลักการท่องเที่ยวโดยชุมชนต้องใช้ชุมชนเป็นเจ้าของมีส่วนร่วมในการ ตัดสินใจและกำหนดทิศทางการท่องเที่ยว ส่งเสริมความภาคภูมิใจของตนเอง ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ต้องจัดการให้มีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม รักษาเอกลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่นก่อให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างคนต่าง วัฒนธรรมเคารพในความแตกต่างก่อให้เกิดผลตอบแทนที่เป็นธรรมต่อคนในท้องถิ่น รวมถึงการกระจายรายได้สู่ชมชนแบบต่างๆ เช่น การให้บริการการนำเที่ยวการขายของที่ระลึกเป็นต้น
          หลังจากที่มีการประชุมนานาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน  ณ กรุงโจฮันเนสเบิร์อก แอฟริกาใต้ได้มีข้อสรุปว่าก่อนปี พ.ศ.2548 ทุก ประเทศต้องกำหนดยุทธศาสตร์ระดับประเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและในประเทศ ไทยได้นำเศรษฐกิจพอเพียงไปเป็นวิสัยทัศน์สำหรับการพัฒนาประเทศอีกถึง 20 ปี ข้างหน้ามีจุดเน้นที่การขจัดความยากจนและยกระดับชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ใน ประเทศให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความกินดีอยู่ดีของคนไทยโดยยึดปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการทำงาน เพื่อให้เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารจัดการประเทศมุ่งสู่ ประสิทธิภาพและคุณภาพให้ก้าวทันโลกในรูปแบบเศรษฐกิจที่สมดุลพอประมาณอย่างมี เหตุผล สร้างภูมิคุ้มกัน ก้าวทันโลก เสริมสร้างจิตใจของคนไทยให้มีคุณธรรมมีความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งเป็นหลักที่พระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ในการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนมาโดย ตลอด โดยเพื่อรับกับผลกระทบของวิกฤติที่เกิดขึ้นระยะสั้นและผ่อนคลายปัญหาในระยะ ยาวซึ่งมียุทธศาสตร์ที่สำคัญด้วยกัน 2 ประการได้แก่
1.       การพึ่งตนเอง  การพึ่งตนเองของชุมชนแสดงออกได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้วัตถุดิบ
เพื่อ การผลิตที่หาได้ในท้องถิ่นแทนการหาจากภายนอก การใช้ผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่นแทนที่การใช้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างถิ่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างรายได้แทนการรับเอาเทคนิคใหม่มาใช้พึ่ง แหล่งทุนในท้องถิ่นแทนการก่อหนี้จากต่างถิ่นการจัดชุมชนด้วยตัวเองแทนการ สนับสนุนจากภายนอกการตัดสินใจลงมือปฏิบัติเองแทนที่จะรอความช่วยเหลือจาก รัฐบาลตลอดจนมุ่งสร้างทุนทางเศรษฐกิจ
2.       ความพอเพียง  เห็นว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจนโดยเลือก
สินค้า เกษตรที่มีอยู่แล้ว เน้นการลดค่าใช้จ่ายแทนการมุ่งรายได้ นอกจากนี้ยังต้องสร้างหลักประกันโดยการผลิตให้เพียงพอต่อการบริโภคในครัว เรือน
          ประเทศไทยได้มีการกำหนดให้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 โดยมียุทธศาสตร์และภารกิจวัตถุประสงค์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนมีทั้งหมด 7 อย่างได้แก่ (สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม.  2544 : 6,126-127)
1.       การพัฒนาคุณภาพคนที่ต่อเนื่องจากแผนที่ผ่านมา การมีคุณธรรมจริยธรรมและความรู้
สุขภาพที่ดี
2.       การเน้นความสมดุลและชนบท โดยทำให้เกิดความสมดุลและเชื่อมโยงกัน
3.       การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเรื่องปัญหาการแย่งชิง
ทรัพยากรในภาคเศรษฐกิจ
4.       การพัฒนาการจัดการเศรษฐกิจมหภาคโดยมีประสิทธิภาพทั้งเรื่องการเงิน การคลัง ภาษี
รวมทั้งบทบาทภาครัฐ เอกชนและบริการ
5.       การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยการปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ
6.       พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศ
7.       บริหารจัดการที่ดีทุกระดับทั้งการเมือง ราชการ เอกชน ชุมชนและครอบครัว
การ พัฒนาที่ยั่งยืนจะพัฒนาทุกองค์ของการพัฒนาโดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมจะเน้น เป็นกรณีพิเศษคือใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเท่าที่จำเป็นให้หมดช้าขณะ เดียวกันเสริมสร้างให้มากขึ้น เช่น ไม่ตัดไม้ทำลายป่าและปลูกป่าควบคู่กันกันไป โดยในการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะต้องมีดัชนีชี้วัดที่เรียกว่าSustainable Development Indicator โดยตัววัดครบ 4 ด้าน คือ 1.สังคม 2. เศรษฐกิจ 3. สิ่งแวดล้อม 4. สถาบันและองค์กรซึ่งทางสภาพัฒน์ทำตัวแบบไว้พอสมควรคล้ายๆ ดัชนีชี้วัด "ความอยู่ดีมีสุข" จะมีตัวชี้วัด 7 ตัว คือ 1. ความรู้ 2. ชีวิตการทำงาน 3. รายได้และความยากจน 4. สภาพแวดล้อม 5. ชีวิตครอบครัว 6.การบริหารจัดการที่ดี 7.สุขภาพอนามัย
การ ศึกษาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์เป็นการช่วยให้เรามองเห็นจุดที่ไทย ยังต้องพัฒนา เพื่อเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจและรองรับการเป็นกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asian Economic Community : AEC) โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพแรงงานและเทคโนโลยี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงมองว่าไทยต้องสร้างแนวทางในการใช้เทคโนโลยี เพื่อการผลิตในรูปแบบของตัวเองโดยอาจมีการเลือกกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ เหมาะสมกับสถานการณ์การผลิตโดยรวมของประเทศ เช่น อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าเกษตร สุขภาพ การท่องเที่ยว เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถนาแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์มาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้ แก่สินค้าและบริการควบคู่ไปกับเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ในเรื่องข้อจำกัดทาง การเงินของธุรกิจ SMES ที่มีส่วนสำคัญต่อภาคธุรกิจของไทย  นอก จากนี้ไทยต้องพัฒนาคุณภาพของกำลังแรงงานควบคู่กันไปด้วยหากไทยยกระดับขีด ความสามารถในการผลิตได้จะส่งผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสามารถแข่งขันได้ ทัดเทียมต่างชาติไม่เพียงแต่ใน AEC แต่รวมถึงประเทศอื่นๆ จากทั่วโลกด้วยการรวมกลุ่ม AEC ที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 นี้มีจุดประสงค์หลักประการหนึ่งที่ต้องการสร้างให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มี ขีดความสามารถในการแข่งขันสูง (Highly Competitive Economic Region) และหากมองหาประเทศที่มีศักยภาพการแข่งขันอย่างมากในอาเซียนคงหลีกเลี่ยงไม่ ได้ที่จะพูดถึงสิงคโปร์ทั้งที่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่ทรัพยากรทางธรรมชาติและ แรงงานแต่สิงคโปร์สามารถปรับรูปแบบเศรษฐกิจจนกลายมาเป็นศูนย์กลางการค้าการ เงินและการขนส่งที่สำคัญของภูมิภาคในปัจจุบันได้สิงคโปร์ติดอันดับ 3 ของโลกจากการจัดอันดับของ IMD สิงคโปร์ถือเป็นประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันอันดับที่ 3 ของโลก (FIGURE1) และสูงที่สุดในอาเซียนด้วยกันโดยมีรายได้หลักมาจากภาคการบริการกว่า 65% ขณะที่อุตสาหกรรมหลักที่สำคัญล้วนเป็นอุตสาหกรรมที่พึ่งพาความรู้ทางวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์และวิศวกรรมเป็นต้นแนวทางการพัฒนาศักยภาพของสิงคโปร์พบว่ามี ประเด็นที่น่าสนใจดังนี้  (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย.  2555 : 50-55) หรือ http://www.thai-aec.com/ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน)
1.  การ มุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจแม้สิงคโปร์จะเสีย เปรียบเรื่องปัจจัยการผลิตที่มีราคาสูงกว่าประเทศอื่นๆ ในแถบอาเซียน แต่สิงคโปร์พยายามพัฒนาองค์ความรู้ผ่านการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มีระดับสูงขึ้นและนำมาต่อยอดให้เกิดนวัตกรรมเชิง ธุรกิจซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบและส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของ สิงคโปร์อีกทั้งยังช่วยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีกับต่างชาติ เช่น การพัฒนาอุตสาหกรรม Biomedical ขึ้นมาเป็นอุตสาหกรรมหลักชนิดใหม่ควบคู่ไปกับอุตสาหกรรมหลักเดิมที่นับวันจะมีสภาวะการแข่งขันจากประเทศในเอเชียที่รุนแรงขึ้น
  2. การไม่หยุดที่จะยกระดับสภาพความเป็นอยู่ของคนในประเทศจากการเปลี่ยนแปลงของ ลักษณะตลาดและลักษณะประชากรในสิงค์โปร เช่น การขยายตัวของสังคมเมืองการเปลี่ยนแปลงช่วงอายุของประชากรและความหลากหลาย ของประชากรที่มากขึ้นส่งผลให้ภาคเอกชนยังคงพยายามที่จะหาโอกาสในการพัฒนา สินค้าและบริการใหม่ๆ ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและยังช่วยยกระดับสภาพความเป็นอยู่ของคนใน ประเทศให้ดีขึ้น
             3. การลงทุนเพื่อ R&D ของสิงคโปร์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะนโยบายหลักของสิงคโปร์ที่ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในด้าน R&D จาก ภาคธุรกิจอีกทั้งการดึงดูดนักลงทุนด้วยสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยี เช่น ที่ตั้งของประเทศโครงสร้างพื้นฐานเป็นต้นทั้งนี้ตัว เลขการใช้จ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาโดยรวม (Gross Expenditure on Research & Development: GERD) ของ สิงคโปร์ปี 2553 มีมูลค่า 6.5 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ โดยกว่า 60% ของการใช้จ่ายดังกล่าวมาจากภาคเอกชนในขณะที่บุคลากรด้านนี้เพิ่มขึ้นกว่า 4.3% สิงคโปร์ให้สิทธิพิเศษภาคธุรกิจ
               4.  รัฐบาล สิงคโปร์มีการให้สิทธิพิเศษกับภาคธุรกิจที่มีการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา ในสิงคโปร์ ซึ่งถือเป็นสิ่งจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนมากขึ้นอย่างต่อ เนื่องเช่นการให้สิทธิพิเศษทางภาษีจากนโยบายการส่งเสริมนี้ทางให้จานวน กิจกรรมเพื่อการพัฒนาสินค้าและบริการในสิงคโปร์เกิดขึ้นในหลายสาขาธุรกิจโดย เฉพาะในสาขาหลักๆ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์เคมีเป็นต้นอีกทั้งมีการจัดตั้งโครงการร่วมทุนกับภาคเอกชนจาก ประเทศอื่นๆ ในเอเชีย เช่นโครงการ Jurong Aromatics Corporation เป็นต้น
                5.  การ วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการพัฒนาองค์ความรู้ในระยะยาวในระยะต่อจาก นี้สิงคโปร์ตั้งเป้าที่จะทำให้ประเทศกลายเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนานวัต กรรมเชิงธุรกิจโดยภายในปี 2558  จะมีการเพิ่มสัดส่วนตัวเลขค่าใช้จ่ายเพื่อ R&D ให้ได้ถึงร้อยละ 3.5 นอกจากนี้ ภายใต้แนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจของ Economic Development Board ที่จะให้สิงคโปร์เป็น Home for Innovation และให้ความสำคัญกับความร่วมมือในการพัฒนาองค์ความรู้ จากหลายฝ่าย (CO-Creating Solutions) ทั้งภาครัฐและเอกชน
ประเทศ ไทยยังจะต้องปรับปรุงในเรื่องของพัฒนาองค์ความรู้ซึ่งเป็นกระบวนการพื้นฐาน ในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมโดยการวิจัยและพัฒนาของไทยยังมีบางประเด็นที่ส่งผล ต่อการเพิ่มศักยภาพของไทยเช่น ผู้ประกอบการไทยยังลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตน้อยโดย ในปี 2552 สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อ R&D ของภาคเอกชน เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่าย R&D รวมมีเพียง 39% อีกทั้งยังต้องพึ่งพาการนาเข้าเทคโนโลยีจากต่างชาติซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูง จึงถือเป็นอุปสรรคต่อการใช้เทคโนโลยีเพื่อของผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะกลุ่ม SMES ไทยไม่สามารถแข่งขันโดยอาศัยความได้เปรียบจากปัจจัยแรงงานที่มีราคาถูกเพียง เดียวได้อีกเพราะระดับราคาปัจจัยการผลิตของไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เช่น การเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอีกทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่ ผลิตภาพแรงงานนอกภาคการเกษตรเฉลี่ยต่อคนของไทยในไตรมาสสุดท้ายปี 2554 อยู่ที่ 111.2 เทียบกับปีฐาน 2543 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าในช่วงกว่า 10 ปีคุณภาพแรงงานของไทยยังมีการพัฒนาที่ช้าและอยู่ในระดับข้างต่ำการรวมกลุ่ม AEC ถือ เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ผู้ประกอบการไทยจะได้เผชิญโอกาสใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการร่วมกลุ่มทางเศรษฐกิจดังกล่าวอันได้แก่การรวมเป็นตลาด เดียวในอาเซียนจะทาให้ลักษณะผู้บริโภคมีความหลากหลายขึ้นและมีปริมาณมากขึ้น จึงเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสามารถที่จะพัฒนาสินค้าเดิมหรือสร้างสินค้า ใหม่ๆ โดยใช้การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นเครื่องมือการเคลื่อนย้ายปัจจัยการ ผลิตระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกได้อย่างเสรีทำให้การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและ บุคลากรที่มีทักษะกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีความพร้อมเป็นไปได้สะดวกขึ้น แหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนางานวิจัยและบุคลากรที่เปิดกว้างมากขึ้น และเอื้อต่อการจัดตั้งเครือข่ายข้อมูลร่วมกันในระดับภูมิภาค การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานร่วมกันในระดับภูมิภาคที่อาจเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น การพัฒนากฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาการยกระดับการศึกษา เป็นต้น สาหรับประเทศไทยและสิงคโปร์อาจใช้โอกาสจากการฟื้นฟูกรอบความร่วมมือ Singapore-Thailand Enhanced Economic Relations (STEER) ที่บรรจุแนวคิดของการพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกันระหว่าง 2 ประเทศไว้ด้วยหากไทยต้องการที่จะยกระดับประสิทธิภาพในการผลิต ก็จาเป็นจะต้องพัฒนาเทคโนโลยีและคุณภาพของบุคลากร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดขนาดใหญ่ เช่น AEC และดึงดูดการลงทุนจากทั่วโลกในระยะยาวโดยอาศัยแนวคิดหลักๆ ดังนี้ การส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีภายในประเทศซึ่งจะทาให้ได้ความ รู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประเภทอุตสาหกรรมหลักและระดับเงินทุนของไทยควบ คู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม เช่น กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การศึกษา เป็นต้น อีกทั้งควรกระตุ้นให้เอกชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพิ่มบทบาทของเศรษฐกิจในเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนรัฐอาจช่วยสนับสนุนให้เกิดกระบวนการ เพื่อการสร้างสรรค์และพัฒนาสินค้าของภาคธุรกิจซึ่งไม่ต้องลงทุนสูง แต่เน้นการพัฒนาสินค้าและบริการให้แตกต่างและมีความโดดเด่น เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวการพัฒนาสินค้า OTOP การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารและสินค้าเกษตร เป็นต้นการพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะถือเป็นปัจจัยสำคัญการพัฒนาแรงงานให้เป็น แรงงานที่มีทักษะ (Skilled Labors) จะช่วยให้การถ่ายถอดเทคโนโลยีในภาคการผลิตและบริการเป็นไปได้ง่ายขึ้น และได้รับการยอมรับจากตลาดแรงงานระดับภูมิภาค ซึ่งควรจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพของแรงงานทั้งความเชี่ยวชาญเฉพาะทางทักษะทาง ภาษาและการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอยู่เสมอ รวมทั้งต้องเร่งผลิตและพัฒนานักวิจัยให้มีคุณภาพมากขึ้น
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
          สุมาลีและคณะ (2545) ได้ศึกษาแนวทางในการวางแผนชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยให้ความหมายไว้ว่า ชุมชนยั่งยืน คือ ชุมชนที่ประชาชนภายในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีเพราะชุมชนมีความเข้มแข็งดัง นั้นการพัฒนาชุมชนยั่งยืนจึง หมายถึง การพัฒนาชุมชนหรือการพัฒนาทางสังคมที่มุ่งเน้นการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของ ประชาชนให้ดีขึ้น เพื่อให้ปลอดจากความยากจน ความไม่รู้ ความเจ็บป่วยเพราะความหิวโหยตลอดจนให้ประชาชนได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีทั้ง จากการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตประจำวันในขณะเดียวกันชุมชนที่ประชาชน อาศัยอยู่นั้นจะต้องเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งซึ่งหมายถึงชุมชนที่มีความ พร้อมในปัจจัยที่จะส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนมีการเปลี่ยน แปลงมีองค์กรสนับสนุนในชุมชนมีการสื่อสารการเรียนรู้และมีศักยภาพที่พึ่งตน เองได้       
          อมรทิพย์  (2546) ได้ศึกษาเรื่องการดำเนินงานหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จะบรรลุเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนให้มีผลิตภัณฑ์ที่ตลาดรองรับและทำเป็นธุรกิจได้ยั่งยืนได้ นั้นจะต้องมีปัจจัยที่เป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จ เช่น รายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิตและผู้ประกอบการความเป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ และความรู้สึกเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ของคนในตำบลอนึ่งการที่จะให้การดำเนินงาน โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เกิด ผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพประชาชนช่างคิด ช่างทำ คิดแล้วทำ ทำแล้วคิดตลอดเวลาโดยยึดหลักการที่ว่าประชาชนต้องร่วมคิดร่วมทำด้วยตนเอง หน่วยงานเอกชนเป็นเพียงผู้คอยให้การสนับสนุนเท่านั้น
                ดลพัฒน์ ยศธร (2542) ศึกษาเรื่อง การนำเสนอรูปแบบการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวพุทธศาสตร์โดย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้การวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เพื่อนำ เสนอรูปแบบการศึกษาอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเอกสารที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่เอกสารที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวคิดขององค์การสหประชาชาติ แนวคิดขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งชาติ (องค์การยูเนสโก) ศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) รวมถึงศึกษาเอกสารข้อมูลอื่นๆ ทางพุทธศาสนาพร้อมกับสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางพุทธศาสตร์จำนวน 2 ท่าน เมื่อวิเคราะห์สาระสำคัญของแนวคิดทั้งหมดแล้วผู้วิจัยได้จัดเสวนาวิชาการใน หมู่ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์รูปแบบการศึกษาที่ผู้วิจัยสร้าง ขึ้นจากนั้นนำเสนอนักวิชาการและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบความ เป็นไปได้และความเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติผลการวิจัยพบว่ารูปแบบของการศึกษา นี้ คือการศึกษาแบบไตรสิกขาที่พัฒนาคนทั้งด้านพฤติกรรม (ศีล) จิตใจ (สมาธิ) และปัญญาเป็นการพัฒนาตามแนวพุทธศาสตร์ที่เป็นการพัฒนาที่ถูกทางและได้สมดุล จะนำไปสู่ผลสำเร็จในการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งการศึกษาเช่นนี้ต้องศึกษาทั้งเนื้อหา (ปริยัติ) การลงมือปฏิบัติ (ปฏิบัติ) เพื่อให้เข้าใจปฏิจจสมุปบาทคือกฎแห่งธรรมชาติหรือกฎของชีวิตอันจะนำไปสู่ผล สำเร็จ (ปฏิเวธ) ขณะเดียวกันก็ศึกษาวิชาการอื่นๆ (วิชาการทางโลก) ไปในกระบวนการเรียนการสอนซึ่งต้องประกอบไปด้วยความเป็นกัลยาณมิตรระหว่างผู้ สอนและผู้เรียนด้วย
สุรพงษ์  ชูเดช (2542) ศึกษาเรื่องผลของการฝึกอบรมตามแนวทางไตรสิกขาที่มีต่อการพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ (1) เพื่อสร้างชุดฝึกอบรมสำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 5 (2) เพื่อศึกษาผลของการฝึกอบรมวินัยในตนเองตามแนวทางไตรสิกขาที่มีต่อการพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่5 ที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแตกต่างกันกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ ประกอบด้วยนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดตะกล่ำ แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร จำนวน 48 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตามคะแนนการอบรมเลี้ยงดูได้แก่กลุ่มรักมาก-ควบคุมมาก 16 คน กลุ่มรักมาก-ควบคุมน้อย 8 คน กลุ่มรักน้อย-ควบคุมมาก 8 คนกลุ่มรักน้อย-ควบคุม น้อย 16 คน นักเรียนในแต่ละกลุ่มถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละเท่า ๆ กัน ดังนั้น จึงมีนักเรียนในกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 24 คนกลุ่มทดลองได้รับการ ฝึกอบรมตามแนวทางไตรสิกขาเป็นเวลา 11 สัปดาห์ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการฝึกอบรมตาม วิธีปกติเป็นเวลา 11 สัปดาห์ มีการวัดวินัยในตนเองของนักเรียนในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนการฝึกอบรมเมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมและเมื่อสิ้นสุดการฝึกแล้ว 1 เดือน ผู้วิจัย ได้ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนวินัยในตนเองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบ คุม โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสามทางแบบวัดซ้ำ (Three-way ANOVA, Repeated measures, two between-subject factors and one within subject factor) ผล การวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการฝึกอบรมวินัยในตนเองตามแนวทางไตรสิขามีวินัยในตนเองสูง กว่านักเรียนที่ได้รับการฝึกอบรมวินัยตามวิธีปกติทั้งเมื่อสิ้นสุดการฝึก อบรมและเมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมแล้ว 1 เดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
วารสารของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (อ้างถึงใน ผู้จัดการออนไลน์, 2548) ฉบับวันที่ 8 พฤศจิกายน 2547 ได้ นำเสนอผลการวิจัยของสถาบันเกี่ยวกับการทำสมาธิว่าการปฏิบัติธรรมทำสมาธิแบบ พุทธศาสนามิใช่เพียงก่อให้เกิดความสงบภายในจิตใจเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีกับกระบวน การทำงานของสมองมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความเชื่อมโยงกับ อารมณ์ทางด้านดีอย่างถาวรอีกด้วย ทั้งนี้ นักวิจัยได้ทำการทดลองโดยเปรียบเทียบการทำงานของสมองของผู้เข้ารับการทดลอง ในสองกลุ่มหลักซึ่งกลุ่มแรกเป็นกลุ่มพระภิกษุสงฆ์ จำนวน 8 รูป มีอายุเฉลี่ยประมาณ 49 ปีแต่ละรูปมีประสบการณ์ในการนั่งสมาธิตั้งแต่10,000-50,000 ชั่วโมง ภายในระยะเวลา 15 ถึง 40 ปีที่ผ่านมาส่วนกลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มนักศึกษาที่มีอายุเฉลี่ยประมาณ 21 ปี จำนวน 10 คน ส่วนใหญ่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรมทำสมาธิมาก่อนและเพิ่งได้รับการอบรมในเรื่องการทำสมาธิได้เพียง 1 สัปดาห์ก่อนเริ่มการทดลองการทดลองครั้งนี้นักวิจัยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า อิเล็กโทรเอนเซฟาโลแกรมส์” (electroencephatograms) ในการวัดระดับการทำงานของคลื่นสมองแกมมา รวม 3 ครั้ง คือ ก่อน ระหว่างและหลังการปฏิบัติสมาธิซึ่งคลื่นสมองแกมมาเกี่ยวข้องกับการทำงานของ สมองที่เชื่อมโยงการทรงจำระดับการเรียนรู้ ระดับสมาธิและการมองโลกในแง่ดีผู้เข้ารับการทดลองทั้งสองกลุ่มถูกจัดให้นั่ง สมาธิแบบธิเบตในห้องทดลองที่ผ่อนคลายและมีการทำสมาธิเน้นให้รู้สึกถึงความ รักและความเมตตาต่อสรรพสิ่งโดยจะไม่ใช้วิธีการเพ่งจิตต่อสิ่งใดสิงหนึ่งแม้ แต่ลมหายใจผลปรากฏว่าในช่วงก่อนการนั่งสมาธิคลื่นสมองแกมมาของกลุ่มพระภิกษุ มีระดับที่สูงกว่ากลุ่มนักศึกษาและระดับความแตกต่างนี้ ได้ปรับสูงขึ้นอย่างมากระหว่างการนั่งสมาธิ ซึ่งระดับคลื่นสมองแกมมาของกลุ่มพระภิกษุในระหว่างการนั่งสมาธิครั้งนี้นับ ว่าเป็นระดับที่สูงที่สุดเท่าเคยมีรายงานมาเป็นที่ชัดเจนว่ากลุ่มพระภิกษุมี การทำงานของสองที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ทางด้านบวก เช่น ความสงบสุข มีประสิทธิภาพกว่ากลุ่มที่ไม่เคยปฏิบัติสมาธิใดมาก่อน นอกจากนี้ ยังได้สรุปได้ว่าระดับคลื่นแกมมาที่สูงของพระภิกษุก่อนการปฏิบัติสมาธินั้น แสดงให้เห็นว่าสมองได้มีการพัฒนาอย่างถาวรหากได้รับการปฏิบัติธรรมติดต่อกัน เป็นระยะเวลานานถึงแม้ว่าปัจจัยการทางด้านอายุ และสุขภาพอาจจะทำให้คลื่นสมองแกมมามีระดับที่แตกต่างกันไปแต่ปัจจัยที่สำคัญ ที่สังเกตได้ชัดจากการทดลองคือจำนวนชั่วโมงของการปฏิบัติสมาธิส่งผลโดยตรง ต่อการทำงานของคลื่นสมองแกมมา         
           ชัชวาล ชัชวรัตน์ (2539 :1-2) ได้ศึกษาเชียงรายกับการพัฒนาที่ยั่งยืนการคาดการณ์สำหรับอนาคตโดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและใช้เทคนิคแบบ EFR  (Ethnographic Future Research) ได้สัมภาษณ์ตามแนวมานุษยวิทยาตามแนวใหม่เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพมุมกว้างเกี่ยวกับการพัฒนาจังหวัดเชียงรายในอีก 24 ปีข้างหน้า โดยรวม 3 ภาพเข้าด้วยกันคือ ภาพอนาคตในแง่ดี ภาพอนาคตในแง่ร้าย และภาพอนาคตในแง่ที่เป็นไปได้มากที่สุดโดยได้กำหนดกลุ่ม 5 กลุ่ม ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานวิสาหกิจ นักวิชาการ นักการเมือง นักธุรกิจและผู้มีชื่อเสียงโดยไปกลุ่มนักอนุรักษ์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านภาพรวมที่เป็นไปได้พบว่าประชากรจะเพิ่มขึ้นในอัตรา ที่เหมาะสมอันเนื่องมาจากประสิทธิภาพในการคุ้มกำเนิด คุณภาพชีวิตจะดีขึ้น การศึกษาจะได้รับทั่วถึงและสูงขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถตอบสนองต่อการพัฒนาแรงงานด้าน เศรษฐกิจได้อย่างกว้างขวาง ลักษณะทางสังคมจะเป็นแบบผสมเหมือน ภาคเหนือ อีสาน และใต้ มีชนกลุ่มน้อยจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานประเภทไร้ฝีมือมากขึ้น การปกครองท้องถิ่นจะพัฒนาให้เชิงที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถตอบสนองต่อความจำเป็นท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี การปกครองส่วนภูมิภาคจะเปลี่ยนเป็นมีบทบาทในการกำกับดูแลการประสานงานและให้ ความช่วยเหลือในด้านเทคนิควิชาการแทนในด้านเศรษฐกิจของเชียงราย และจังหวัดจะเป็นประตูสี่เหลี่มเศรษฐกิจ (จีน พม่า ลาว ไทย) เนื่องจากมีระบบการขนส่งที่สะดวกเอื้อต่อการค้าขายทั้งทางบกทางน้ำและทาง อากาศรายได้ส่วนใหญ่จะมาจากการท่องเที่ยวภายในจังหวัดและจากประเทศเพื่อน บ้านสิ่งแวดล้อมจะได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้ การท่องเที่ยวอื่น มลพิษ ขยะ อากาศเสีย ระบบจราจรทั้งนี้เนื่องจากมีแผนการแก้ไขปัญหาเชิงอนาคตที่ดีและมีวิสัยทัศน์ ที่ก้าวไกลด้านสื่อมวลชนท้องถิ่นจะมีบทบาทในการสะท้อนปัญหาของประชาชนและมี จรรยาบรรณในการเสนอข่าวสารเชิงสร้างสรรค์เกิดขึ้นและมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา ต่างๆ อย่างใกล้ชิดกับภาคส่วนราชการ ด้านวัฒนธรรมประเพณีจะได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และมีความหลากหลายอันเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายประชากรจากภาคต่างๆของประเทศ ปัญหาอาชญากรรมปัญหาโสเภณีปัญหาโรคเอดส์ปัญหายาเสพติดจะสามารถควบคุมได้ไม่ ให้เกิดความรุนแรงส่งผลกระทบต่อประชากรของสังคมในภาพรวมเชียงรายจะสามารถ เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมไว้ได้โดยมีลักษณะเป็นวัฒนธรรมแบบผสมผสานระหว่าง วัฒนธรรมท้องถิ่นกับภูมิภาคต่างๆ โดยสรุปแล้วภาพรวมมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดี
          นคร  สำเภอทิพย์ (2542 : บทคัดย่อ)  ได้ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงในพื้นที่อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย พบว่า จากการมีส่วนร่วมทั้ง 4 ด้าน คือ เสนอปัญหาแสดงความคิดเห็น ร่วมวางแผนจัดทำโครงการ ร่วมลงมือปฏิบัติตามแผนและร่วมติดตามประเมินผล สรุปได้ว่าประชาชนมีส่วนร่วมในระดับต่ำ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความหวังในประโยชน์จากโครงการและติดต่อพบปะเจ้าหน้าที่รัฐสำหรับปัญหาและ อุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมที่สำคัญคือการมีภาระทางครอบครัวมากและไม่มีเวลาใน การเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการและมีภาระในการประกอบอาชีพข้อเสนอจากผลการ วิจัยพบว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ในระดับต่ำควรมีการส่งเสริมให้ ประชาชนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนให้มากขึ้นควรแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชน จัดหาน้ำสะอาด ภาวะโภชนาการให้เด็กและปรับปรุงเส้นทางคมนาคมจากหมู่บ้านไปยังโรงพยาบาลตาม ความคาดหวังของประชาชนที่ร่วมโครงการสำหรับการพบปะผู้นำท้องถิ่นซึ่งพบว่ามี ความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในระดับต่ำควรมีการมอบอำนาจในการตัดสินใจให้ แก่ผู้นำท้องถิ่นและกิจกรรมของโครงการควรเป็นกิจกรรมที่ใช้เวลาน้อยและ ดำเนินการจากที่ประชาชนว่างจากการทำงานเพื่อลดปัญหาการไม่มีเวลาเนื่องจาก ภาระทางครอบครัวและการทำมาหากินควรจัดสื่อตลอดจนการพบปะกับประชาชนอย่างต่อ เนื่อง

บรรณานุกรม
สุมาลี สันติพลวุฒิและคณะ. (2545). แนวทางในการวางแผนระดับชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กรณีศึกษาตำบลเขาสามยอดและตำบลชอนน้อย. รายงานการวิจัยภายใต้โครงการจัดตั้ง
วิทยาเขตลพบุรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เสนอต่อสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร.
อมรทิพย์ แท้เที่ยงธรรม. (2546). การประเมินผลกลุ่มหัตถกรรมภายใต้โครงการหนึ่งตำบลหนึ่ง
ผลิตภัณฑ์ : กรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นายปกรณ์เทพ พจี.  (2549) ปัจจัยที่มีผลต่อโครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน:
กรณีศึกษาหมู่บ้านเมืองบางจังหวัดหนองคาย. รายงานการวิจัย. หาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พระธรรมปิฎก (..ปยุตโต). (2539). การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง.
สุทธิดา  ศิริบุญหลง.  (2554). การพัฒนาแบบยั่งยืน : กระบวนการกระทำทางเศรษฐกิจสังคม
 (metabolism) และการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติเชิงสร้างสรรค์.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. http://www.thai-aec.com/ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน)สุรพงษ์ ชูเดช. (2542). ผลของการฝึกอบรมตามแนวทางไตรสิกขาที่มีต่อการพัฒนาวินัยในตนเอง
          ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต,
           มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ดลพัฒน์ ยศธร. (2542). การนำเสนอรูปแบบการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวพุทธศาสตร์.
          วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ผู้จัดการออนไลน์. (2548).  ผลวิจัยวิทยาศาสตร์ชี้ชัดปฏิบัติธรรมทำสมาธิส่งผลดีต่อสมอง.
ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2548, จากhttp://www.dhammathai.org/articles/025.php
ทักษิณ ชินวัตร. (2549). ผลิตภัณฑ์ OTOP (Online). Available: www.Thaitambon.com.
พระธรรมฎก (..ปยุตโต). (2539). การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง.
พระธรรมปิฎก. (2539).  ปฏิรูปการศึกษาการสร้างสรรค์ภูมิปัญญา.  กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง.
เกื้อ วงศ์บุญสิน. (2538). ประชากรกับการพัฒนา.  พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุงแก้ไข กรุงเทพฯ:
          สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะกรรมาธิการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ.  (2546).  โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการ
          บริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง.
  กรุงเทพ : คุรุสภาลาดพร้าว.
สรรเสริญ  วงศ์ชอุ่ม.  (2544).  เศรษฐกิจพอเพียงพื้นฐานสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน.  นนทบุรี :
          เพชรรุ่งการพิมพ์.
พจนา  สวนศรี. (2546).  คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนโครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและ
          ธรรมชาติ.  กรุงเทพ : กองทุนแคนาดาประจำประเทศไทย.
ไพฑูรย์  พงศะบุตร.  (2544).  พจนานุกรมฉบับที่ 27.  กรุงเทพ : ไทยวัฒนาพานิช.
สิน  สุโรบล.  (2546).  การท่องเที่ยวโดยชุมชนแนวคิดประสบการณ์พื้นที่ภาคเหนือ.  เชียงใหม่ :
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549).” (มปป.). [ออนไลท์]. เข้าถึง
          ได้ จาก
www.newth.go.th สืบค้นวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555.
UNDP.  (1994).  Human Development Report 1994. Newyork : Oxford University Press.



                [1]  พระมหาเฉลิมเกียรติ  แก้วหอม. ป.ธ.๓, พธ.บ. (การเมืองการปกครอง), ศศ.ม. (ยุทธศาสตร์การพัฒนา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น